กานดาฯเชื่อไตรมาสแรกยอดโอนแนวราบทุกค่ายอสังหาฯต่ำกว่าเป้า 15-20% มั่นใจไตรมาส2/63 ยอดโอนยังไม่ดีขึ้น แนะผู้บริโภคถือจังหวะวิกฤติโควิด-19 ช้อปสินค้าราคาถูก เหตุผู้ประกอบการแห่อัดโปรโมชั่นขายแบบขาดทุน นำกระแสเงินสดเข้าบริษัท เผยแผนพัฒนาปีนี้อาจเลื่อนเปิดตัว “ไอลีฟ ไพร์ม พัทยาจอมเทียน”ไปปีหน้า อนาคตบ้านชานเมืองจะเป็นทางเลือกมากขึ้น
นายอิสระ บุญยัง
นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอสังหาฯในไตรมาส1/2563 ชะลอตัว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม มียอดขายที่ชะลอตัวมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องนำโครงการมาจัดโปรโมชั่นสงครามราคาเป็นจำนวนมาก สำหรับโครงการแนวราบนั้น ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา เชื่อว่ายอดโอนแต่ละบริษัทฯต่ำกว่าเป้า 15-20% แต่มั่นใจว่าดีกว่าแนวสูงแน่นอน

“ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563  การโอนยังไม่ชะลอตัวมาก แต่เมื่อประเทศไทยเริ่มมีปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากๆในเดือนมีนาคม ประกอบกับมาตรการ “บ้านดีมีดาวน์” ที่จะหมดในปลายเดือนดังกล่าว ส่งผลให้คนแห่ไปทำนิติกรรมช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดโอยไม่ชะลอตัวอย่างที่ควรจะเป็น แต่พอเดือนเมษายน  จะเริ่มเห็นยอดโอนชะลอตัวอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับปี 2562 ก็มีชะลอตัวจาก มาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to value : LTV) แต่เชื่อว่าปีนี้ยอดโอนจะชะลอตัวมากกว่าปีที่ผ่านมา” นายอิสระ กล่าว

นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน  นั้นยอดโอนคงไม่ดีกว่าในไตรมาสแรกอย่างแน่นอน  เพราะผู้บริโภคต่างคิดว่าอสังหาฯเป็นสินค้าที่รอซื้อได้ จึงไม่เร่งรีบซื้อ แต่สำหรับตนมองว่าในภาวะการณ์นี้เป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีความพร้อม เพราะผู้ประกอบการแต่ละราย ต่างปรับกลยุทธ์จัดโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ บางบริษัทฯยอมขายแบบขาดทุน จึงถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ซื้อ

“ยอดขายที่ได้เป็นเรียลดีมานด์ทั้งหมด และเราพยายามให้เงินไหลออกมากที่สุด อาทิ เจรจากับสถาบันการเงิน ในการผ่อนชำระหนี้จากระยะสั้นเป็นระยะยาว ,ควบคุมงานก่อสร้างให้ใช้ปริมาณเงินให้น้อยที่สุด และการพยายามให้เงินไหลเข้าบริษัทมากที่สุด อาทิ จากเงินกู้สถาบันการเงิน และ จากยอดโอนกรรมสิทธิ์” นายอิสระ กล่าว

สำหรับแผนการดำเนินงานเปิดตัวโครงการใหม่ของบริษัทฯในปี 2563 นี้ คงมีการปรับแผนการเปิดตัวในบางโครงการที่เดิมจะเปิดตัวในปีนี้ ก็เลื่อนไปเปิดตัวในปี 2564  เช่น โครงการ “ไอลีฟ ไพร์ม พัทยา-จอมเทียน” ที่เดิมจะเปิดตัวในเดือนมิถุนายน หรือ กรกฎาคม 2563 ก็มีการเลื่อนเปิดขายไปปีหน้า  แต่ก็มีการพัฒนาพื้นที่ไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวบริษัทฯได้ซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา พื้นที่กว่า 30 ไร่  มีแผนพัฒนาเป็นทาวน์โฮม ขนาด 21-30 กว่าตารางวา ราคา 2 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 390 ยูนิต มูลค่าโครงการเกือบ 1,000 ล้านบาท

ส่วนบางโครงการที่จะเปิดตัวในปีนี้แน่นอน ก็อาจจะเลื่อนเดือนในการเปิดตัวออกไป  เพื่อรอให้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย สำหรับโครงการที่เปิดขายแล้ว ก็จะไม่สร้างครั้งละมากๆ ทั้งนี้เพื่อรักษากระแสเงินสดไว้ให้ได้มากที่สุด ส่วนโครงการที่อยู่ในสต๊อก ก็จะจัดโปรโมชั่นเพื่อสร้างแรงจูงใจลูกค้าให้รีบตัดสินใจซื้อ ปัจจุบันมี  6 โครงการๆ ละประมาณ 50-70 ยูนิต รวมมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งมีความคืบหน้าด้านการก่อสร้างมากแล้ว

“ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้พบและพูดคุยกับลูกค้าในบางโครงการที่เริ่มมีการทยอยโอน พบว่าหลายรายมีคอนโดฯ แต่มีขนาดเล็ก และเมื่อมาเห็นโครงการของบริษัทที่มีพื้นที่กว้างต่างจากการอยู่อาศัยคอนโดฯ ซึ่งจะทำให้โครงการแนวราบเป็นทางเลือกหลังโควิด-19 คลี่คลาย มากขึ้นอย่างแน่นอน” นายอิสระ กล่าว

ทั้งนี้ปกติบ้านทุกแบบของบริษัทฯจะมี 4 ห้องนอน แต่ชั้น 2 จะใช้ไม่ครบ บางห้องใช้เป็นห้องทำงานและห้องพระ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ (Work From Home : WFH)อยู่แล้ว แต่โครงการในอนาคต จะต้องมีการดีไซน์ประตู หน้าต่างให้มีความกว้าง เพื่อระบายอากาศรองรับการทำงานแบบ WFH โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศได้มากขึ้น

ทั้งนี้ในช่วง  1-2 ปีที่ผ่านมา หลายคนยังมีความวิตกกังวลกับการใช้ระบบขนส่งมวลชน แต่หลังวิกฤตการณ์ การจราจรก็จะมีความหนาแน่นลดลง คนจะWFH มากขึ้น ขณะเดียวกัน รถไฟฟ้าสายสีใหม่ก็เริ่มเปิดบริการรองรับ ทำให้การเดินทางจากชานเมือง เข้าสู่ตัวเมืองได้ง่ายมากขึ้น และคนส่วนหนึ่งก็เริ่มสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

“บ้านชานเมืองก็จะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้น และ 1-2 ปีที่ผ่านมาทาวน์เฮาส์ก็แชร์ส่วนแบ่งตลาดมาจากคอนโดฯอยู่แล้ว โดยทุกระดับราคาสามารถขายได้หมด  ซึ่งมีทางเลือกแตกต่างกันไป เรื่องการดีไซน์ แต่ละบริษัทฯก็พยายามตอบรับในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งในส่วนของบริษัทฯก็ได้เริ่มดำเนินการมาอยู่แล้ว และจะปรับเพิ่มเกี่ยวกับระบบออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยลูกค้า” นายอิสระ กล่าว

นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็นสถานการณ์ที่ภาวะของสถาบันการเงินไทยยังมีความแข็งแกร่งอยู่ เมื่อเทียบกับปี 2540 ที่สถาบันการเงินหลายแห่งต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับหลายธุรกิจที่ผู้ประกอบการก็ไม่มีความแข็งแกร่ง หลายบริษัทต้องเลย์ออฟพนักงาน บางบริษัทต้องปิดการลง เป็นต้น  แต่สถานการณ์โควิด-19 นี้ เชื่อว่าดีมานด์จะเกิดภาวะช็อตนาน เป็นการเตือนผู้ประกอบการทุกรายว่าไม่ควรเร่งการเติบโตจนเกินไปเพราะธุรกิจอสังหาฯไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ลูกค้า 1 คนไม่สามารถซื้ออสังหาฯได้บ่อย ซึ่งเป็นสัญญาณให้ธุรกิจอสังหาฯกลับมาสู่เรียลดีมานด์อย่างแท้จริง ถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ

จะไม่สร้างครั้งละมากๆ ทั้งนี้เพื่อรักษากระแสเงินสดไว้ให้ได้มากที่สุด ส่วนโครงการที่อยู่ในสต๊อก ก็จะจัดโปรโมชั่นเพื่อสร้างแรงจูงใจลูกค้าให้รีบตัดสินใจซื้อ ปัจจุบันมี  6 โครงการๆ ละประมาณ 50-70 ยูนิต รวมมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งมีความคืบหน้าด้านการก่อสร้างมากแล้ว

“ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้พบและพูดคุยกับลูกค้าในบางโครงการที่เริ่มมีการทยอยโอน พบว่าหลายรายมีคอนโดฯ แต่มีขนาดเล็ก และเมื่อมาเห็นโครงการของบริษัทที่มีพื้นที่กว้างต่างจากการอยู่อาศัยคอนโดฯ ซึ่งจะทำให้โครงการแนวราบเป็นทางเลือกหลังโควิด-19 คลี่คลาย มากขึ้นอย่างแน่นอน” นายอิสระ กล่าว

ทั้งนี้ปกติบ้านทุกแบบของบริษัทฯจะมี 4 ห้องนอน แต่ชั้น 2 จะใช้ไม่ครบ บางห้องใช้เป็นห้องทำงานและห้องพระ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ (Work From Home : WFH)อยู่แล้ว แต่โครงการในอนาคต จะต้องมีการดีไซน์ประตู หน้าต่างให้มีความกว้าง เพื่อระบายอากาศรองรับการทำงานแบบ WFH โดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศได้มากขึ้น ซึ่งในช่วง  1-2 ปีที่ผ่านมา หลายคนยังมีความวิตกกังวลกับการใช้ระบบขนส่งมวลชน แต่หลังวิกฤตการณ์ การจราจรก็จะมีความหนาแน่นลดลง คนจะWFH มากขึ้น ขณะเดียวกัน รถไฟฟ้าสายสีใหม่ก็เริ่มเปิดบริการรองรับ ทำให้การเดินทางจากชานเมือง เข้าสู่ตัวเมืองได้ง่ายมากขึ้น และคนส่วนหนึ่งก็เริ่มสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

“บ้านชานเมืองก็จะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้น และ 1-2 ปีที่ผ่านมาทาวน์เฮาส์ก็แชร์ส่วนแบ่งตลาดมาจากคอนโดฯอยู่แล้ว โดยทุกระดับราคาสามารถขายได้หมด  ซึ่งมีทางเลือกแตกต่างกันไป เรื่องการดีไซน์ แต่ละบริษัทฯก็พยายามตอบรับในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งในส่วนของบริษัทฯก็ได้เริ่มดำเนินการมาอยู่แล้ว และจะปรับเพิ่มเกี่ยวกับระบบออนไลน์ให้มากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยลูกค้า” นายอิสระ กล่าว

นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็นสถานการณ์ที่ภาวะของสถาบันการเงินไทยยังมีความแข็งแกร่งอยู่ เมื่อเทียบกับปี 2540 ที่สถาบันการเงินหลายแห่งต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับหลายธุรกิจที่ผู้ประกอบการก็ไม่มีความแข็งแกร่ง หลายบริษัทต้องเลย์ออฟพนักงาน บางบริษัทต้องปิดการลง เป็นต้น  แต่สถานการณ์โควิด-19 นี้ เชื่อว่าดีมานด์จะเกิดภาวะช็อตนาน เป็นการเตือนผู้ประกอบการทุกรายว่าไม่ควรเร่งการเติบโตจนเกินไปเพราะธุรกิจอสังหาฯไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ลูกค้า 1 คนไม่สามารถซื้ออสังหาฯได้บ่อย ซึ่งเป็นสัญญาณให้ธุรกิจอสังหาฯกลับมาสู่เรียลดีมานด์อย่างแท้จริง ถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*