กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่ไตรมาส 1/2563 (ม.ค.-มี.ค.) มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ 19,415 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 (ต.ค.-ธ.ค.) จำนวน 13,877 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 5,538 ราย คิดเป็น 40% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/62 จำนวน 20,750 ราย ลดลงจำนวน 1,335 ราย คิดเป็น 6% ขณะที่จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการไตรมาส 1/2563  มีจำนวน 3,169 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 จำนวน 10,175 ราย ลดลงจำนวน 7,006 ราย คิดเป็น 69 % และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 จำนวน 3,288 ราย ลดลงจำนวน 119 ราย คิดเป็น 4 % โดยธุรกิจยกเลิกประกอบกิจการ 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 337 ราย คิดเป็น11 % รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 183 ราย คิดเป็น 6 % และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 92 ราย คิดเป็น 3 %

 

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนมีนาคม 2563 และไตรมาส 1/2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผลการจดทะเบียนธุรกิจนั้น มีธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนมีนาคม 2563

  • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนมีนาคม 2563 จำนวน 6,066 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 24,576 ล้านบาท
  • ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 579 ราย คิดเป็น 10 % (ร้อยละ) รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 370 ราย คิดเป็น 6 % และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร จำนวน 157 ราย คิดเป็น 3 % ตามลำดับ
  • ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,347 ราย คิดเป็น 71.66 % รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,597 ราย คิดเป็น 26.33 % ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 109 ราย คิดเป็น 1.80 % และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 13 ราย คิดเป็น 0.21 % ตามลำดับ

 ธุรกิจจัดตั้งใหม่ไตรมาส 1/2563

  • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ ไตรมาส 1/2563 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 19,415 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 (ต.ค.-ธ.ค.) จำนวน 13,877 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 5,538 ราย คิดเป็น 40 % และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 จำนวน 20,750 ราย ลดลงจำนวน 1,335 ราย คิดเป็น 6 % 
  • ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,809 ราย คิดเป็น 9 % รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,053 ราย คิดเป็น 5 % และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 573 ราย คิดเป็น 3 % ตามลำดับ
  • มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในไตรมาส 1/2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 71,130 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส4/2562 จำนวน 141,355 ล้านบาท ลดลงจำนวน 70,225 ล้านบาท คิดเป็น 50 % และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 จำนวน 52,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 18,739 ล้านบาท คิดเป็น 36 %
  • ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 14,068 ราย คิดเป็น 72.46 % รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 5,029 ราย คิดเป็น 25.90 % รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 283 ราย คิดเป็น 1.46 % และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 35 ราย คิดเป็น 0.18 %

 ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ เดือนมีนาคม 2563

  • จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนมีนาคม 2563 มีจำนวน 947 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนจำนวน 4,529 ล้านบาท
  • ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 83 ราย คิดเป็น 9 % รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 60 ราย คิดเป็น 6 % และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 31 ราย คิดเป็น 3 % ตามลำดับ
  • ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 615 ราย คิดเป็น 64.94 % รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 287 ราย คิดเป็น 30.31 % ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 41 ราย คิดเป็น 4.33 % และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.42 % ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการไตรมาส 1/2563

  • จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 3,169 ราย เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 จำนวน 10,175 ราย ลดลงจำนวน 7,006 ราย คิดเป็น 69 % และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 จำนวน 3,288 ราย ลดลงจำนวน 119 ราย คิดเป็น 4 % ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์ปกติที่จะมีแนวโน้มของการจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจ
  • ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 337 ราย คิดเป็น 11 % รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 183 ราย คิดเป็น 6 % และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 92 ราย คิดเป็น 3 % ตามลำดับ
  • มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในไตรมาส 1/2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 14,456 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2562 จำนวน 37,188 ล้านบาท ลดลงจำนวน 22,733 ล้านบาท คิดเป็น 61 % และเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1/2562 จำนวน 9,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 4,460 ล้านบาท คิดเป็น 45 %
  • ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 2,170 ราย คิดเป็น 68.47 % รองลงมาคือ ช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 860 ราย คิดเป็น 27.14 % ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 128 ราย คิดเป็น 4.04 % และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 11 ราย คิดเป็น 0.35 %

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนมีนาคม 256

  • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 มี.ค. 63) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 762,229 ราย มูลค่าทุน 18.56 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 187,116 ราย คิดเป็น 24.55 % บริษัทจำกัด จำนวน 573,852 ราย คิดเป็น 75.29 % และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,261 ราย คิดเป็น 0.16 % ตามลำดับ
  • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 450,432 ราย คิดเป็น 59.09 % รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.16 % รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 224,96 ราย คิดเป็น 29.45 % รวมมูลค่าทุน 0.74 ล้านล้านบาท คิดเป็น 3.99 % ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 71,614 ราย คิดเป็น 9.40 % รวมมูลค่าทุน 1.94 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.45 % และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,687 ราย คิดเป็น 2.06 % รวมมูลค่าทุน 15.48 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.40 % ตามลำดับ

 การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าวในเดือนมีนาคม 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 67 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 21 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 46 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 7,988 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น 14 % (เพิ่มขึ้น 8 ราย) โดยนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 18 ราย เงินลงทุน 3,186 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 11 ราย เงินลงทุน 1,116 ล้านบาท และเนเธอร์แลนด์ 6 ราย เงินลงทุน 757 ล้านบาท

ส่วนการลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว ไตรมาส 1/2563 คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 180 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 29,026 ล้านบาท

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*