ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่อเทรนด์ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล รวมถึงผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจากเดิมทีเราจะเห็นการขาย เช่า หรือซื้อ ผ่านป้ายโฆษณาหรือประกาศต่างๆตามใบปลิว แต่ปัจจุบันผู้บริโภคใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการค้นหาที่อยู่อาศัยมากขึ้น ข้อมูลจากเว็บไซต์ Livinginsider.com จากงาน Livinginsider NEXT 2.0 The Estate Commerce Begins พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 57 ล้านคน จากประชากร 69 ล้านคน โดยกลุ่มผู้ใช้งาน GEN Y ใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน และ กลุ่ม GEN X & BABY Boomer ใช้งานอินเทอร์เน็ตราว 8 ชั่วโมงต่อวัน

หนึ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ตพบว่าผู้บริโภคใช้เพื่อค้นหาที่อยู่อาศัย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ของตลาดที่อยู่อาศัยบนระบบอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับตลาดอสังหาฯแต่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

อัตราการค้นหาที่อยู่อาศัยเปรียบเทียบระหว่างปี 2018 กับ ปี 2019

โดยที่อยู่อาศัยที่มีการค้นหามากที่สุดยังคงเป็นคอนโดมิเนียมโดยมีอัตราการค้นหามากกว่า 50% เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นหาที่อยู่อาศัยประเภทอื่น พื้นที่ที่มีการค้นหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยมากที่สุดยังคงเป็นพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าและทำเลย่านสุขุมวิท รวมถึงพื้นที่ Prime Location โดยพื้นที่ 3 อันดับแรกของการค้นหาที่อยู่อาศัยในปี 2019 ได้แก่
อันดับ 1 ทำเลย่าน อ่อนนุช / อุดมสุข / พระโขนง
อันดับ 2 ทำเลย่าน พระราม 9 / เพชรบุรีตัดใหม่
อันดับ 3 ทำเลสุขุมวิท / อโศก / ทองหล่อ / เอกมัย


ในขณะเดียวกันการค้นหาที่อยู่อาศัยประเภทบ้านพื้นที่ที่มีการค้นหาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 ทำเลย่านรามอินทรา / นวมินทร์
อันดับ 2 ทำเลรังสิต / ธรรมศาสตร์ / คลองหลวง
อันดับ 3 ทำเลย่านพัฒนาการ / กรุงเทพกรีฑา / ศรีนครินทร์


พื้นที่ยอดนิยมในต่างจังหวัดยังคงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุด สำหรับการค้นหาที่อยู่อาศัย คือ ทำเลย่านพัทยา ชลบุรี บางแสน ศรีราชา

รถไฟฟ้าปัจจัยสำคัญของการนำมาซึ่งความเจริญและที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มส่วนต่อขยายของการเดินรถไฟฟ้า ส่งผลต่อที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าให้ขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อหรือเลือกที่อยู่อาศัยในระแวกใกล้เพื่อการเดินทางและการใช้ชีวิตในเมือง ปัจจุบันความนิยมของการค้นหาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้ายังคงเป็นพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องด้วยเป็นรถไฟฟ้าสายหลักสำหรับการเชื่อมต่อของการเดินทาง ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เป็นทำเลทีรองลงมาเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นทำเลอนาคตที่มีการก่อสร้างระบบการขนส่งแบบรางรถไฟฟ้าทำให้ยังคงไม่ได้รับความนิยมมากนักรวมทั้งความเป็นย่าน CBD และ NEW CBD ยังคงมีผลและอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย หากเมืองมีการขยายตัวออกไปแนวโน้มของการพัฒนาและการเลือกที่อยู่อาศัยอาจขยับตามและได้รับความนิยมมากขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันนั้นที่อยู่อาศัยนอกเมืองยังคงได้รับความสนใจจากกลุ่มคนจำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน ด้วยเลือกทำเลที่ขยับออกนอกเมืองเพื่อได้ที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลงตามความต้องการซื้อของผู้บริโภค
พื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน 3 สถานีแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่
อันดับ 1 MRT พระราม 9 16.68 %
อันดับ 2 MRT เพชรบุรี 14.56%
อันดับ 3 MRT ห้วยขวาง 10.51%


พื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว 3 สถานีแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่
อันดับ 1 BTS อ่อนนุช 11.09 %
อันดับ 2 BTS ทองหล่อ 10.21%
อันดับ 3 BTS บางจาก 10.13%

กำลังซื้อของผู้บริโภคมีความต้องการที่อยู่อาศัย(Demand) ในพื้นที่เขตเมืองและ Prime Location ช่วงเรทราคา 2-3 ล้านบาท ซึ่งตรงข้ามกับผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยราคาที่เปิดขายใหม่(Supply) มีราคาอยู่ที่ 5-10 ล้านบาท ซึ่งทำให้ Demand และ Supply ที่ไม่สอดคล้องกัน ส่งผลต่อ Stock คงเหลือที่ก่อให้เกิดตลาด Over Supply เกิดขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคมีไม่มากพอ

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*