ทีมงาน “พร็อพทูมอร์โรว์” (prop2morrow) ได้สัมภาษณ์ 3 นายกอสังหาฯ ประกอบด้วย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ,สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุดไทย เพื่อนำเสนอ 3 มุมมองตลาดอสังหาฯในปี 256ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งในแต่ละมุมมองของทั้ง 3 ท่านล้วนน่าสนใจ  โดยบทสัมภาษณ์จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ตอน  โดยเริ่มจาก  “นายวสันต์ เคียงศิริ” นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร  เป็นตอนแรก
นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรเผยตลาดอสังหาฯปี64 ส่งสัญญาณฟื้นตัว ดีพีแนวโน้มปรับเพิ่มเป็นบวก 3-4จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศกลับเป็นบวก 12วอนรัฐผ่อนปรนปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย-ภาษีที่ดินฯ เชื่อบ้านราคา 3-7 ล้านบาทขึ้นไป ยังเติบโตต่อเนื่อง ส่วนราคาต่ำกว่า ล้านบาทยังมีความเสี่ยง แนะผู้ประกอบการต้องพร้อมปรับตัว
นายวสันต์ เคียงศิริ
นายวสันต์ เคียงศิริ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า จากข้อมูลของหลายๆฝ่ายพบว่าภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 น่าจะฟื้นตัวดีกว่าปี 2563 ซึ่งส่งสัญญาณดีมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 จากมาตรการต่างๆของภาครัฐ ประกอบกับผู้ประกอบการต่างโหมจัดโปรโมชั่น ทำให้มียอดขายและยอดรายได้ที่ดีขึ้น ส่งผลให้จีดีพี ในปี 2563 จาก-8 เหลือ -7% การโอนกรรมสิทธิ์ ที่เดิมคาดการณ์ว่าจะ-20% แต่ประมาณการณ์ว่าลดลงมาเหลือ-10%

ดังนั้นเชื่อว่าในปี 2564 จีดีพีจะปรับตัวเพิ่มเป็นบวก 3-4เพราะอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศน่าจะกลับมาเป็นบวก 12% แต่ทั้งนี้ยังมีความกังวลในเรื่องปัจจัยลบต่างๆ ได้แก่

1.การปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน (Reject) ซึ่งอยากให้สถาบันการเงินของภาครัฐมีการผ่อนปรน เพื่อให้ผู้ต้องการมีที่อยู่อาศัยเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น

2.พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ซึ่งอยากให้มีการลดหย่อนภาษีในสภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมากนัก แม้จะลดหย่อนไม่ถึง 90% ก็ยังดีกว่าไม่ลดหย่อนเลย

ทั้งนี้นอกจาก 2 ปัจจัยลบดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ยังมีความหวาดหวั่นในอีก 2 ปัจจัยที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมคือ สถานการณ์การเมือง และโควิด-19 รอบ2

สำหรับการเปิดตัวใหม่ในกทม.-ปริมณฑล ในปี 2564 คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้น 24% จากปี 2563 ที่การเปิดตัวลดลงไป 21% เพราะมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และซัพพลายเก่าเริ่มหมดไป ดังนั้นในปี 2564 จึงมีการเพิ่มซัพพลายใหม่เข้ามา
โดยโครงการแนวราบระดับราคา 3-7 ล้านบาท จะเป็นเซกเมนต์ได้รับผลตอบรับดี ส่วนเซกเมนต์ราคา 7 ล้านบาทขึ้นไป ที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการต่างๆ อาจจะชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยไปก่อน ส่วนเซกเมนต์ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ยังคงมีความเสี่ยง เพราะสถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดเป็นพิเศษในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ

อย่างไรก็ตามทำเลที่พัฒนาในพื้นที่ในกทม.และปริมณฑล ในแต่ละโซนยังสามารถพัฒนาได้ดี ผู้ประกอบการคงจะเริ่มสร้างสต๊อกใหม่เพิ่มขึ้น แต่ต้องพิจารณาในแต่ละทำเลว่ามีคู่แข่งมากน้อยเพียงใด เพราะก่อนพัฒนาโครงการต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี อีกทั้งที่ดินแปลงใหญ่ที่พัฒนาโครงการแนวราบเริ่มหายากขึ้น และราคาก็ปรับสูงขึ้นตาม  แต่การพัฒนาก็ต้องระมัดระวังตัวเพิ่มขึ้น เพราะสถานการณ์ต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอด

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*