เปิดตัวสายสีเขียวครบทุกสถานี วิ่งยาว ไร้รอยต่อ 59 สถานี เชื่อม 3 จังหวัด เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 5 สาย บริการฟรี  ถึง 1 ..64 พร้อมปล่อยรถไฟฟ้าสายสีทองขนาดรอง ไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย ย่านฝั่งธนบุรี นั่งฟรีถึง 15 ..64

วันนี้ (16 ธันวาคม 63) เวลา 09.00 . สถานีคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี : พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงหมอชิต  สะพานใหม่คูคต) จำนวน 7 สถานี โดยมี คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และคณะผู้บริหาร บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารร่วมทดลองโดยสารขบวนรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากสถานีคูคตถึงสถานีกรุงธนบุรี ซึ่งจะเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการในเวลา 13.00 .

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2542 ที่กรุงเทพมหานครได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย คือรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิตอ่อนนุช และได้พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา  รถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ขยายเชื่อมโยงทุกพื้นที่สำคัญทั้งกรุงเทพฯและฝั่งธนบุรี และขยายในแนวเหนือใต้ นอกจากจะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของกรุงเทพมหานครแล้ว ในวันนี้ถือได้ว่าเป็นรถไฟฟ้าสายแรกในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีด้วย นับเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญยิ่งของประชาชนชาวกรุงเทพฯและปริมณฑล สามารถเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว  และปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นรถไฟฟ้าแกนหลักที่สามารถกระจายประชาชนเดินทางไปได้ทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯเนื่องจากมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีก 5 สายโดยที่เปิดให้บริการให้คือ เชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีพญาไทเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินถึง 5 จุด ที่สถานีอโศก สถานีศาลาแดง สถานีหมอชิต สถานีห้าแยกลาดพร้าว และสถานีบางหว้า เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีกรุงธนบุรี และภายในปี 2565 จะเชื่อมรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่อีก 2 สายคือ เชื่อมกับสายสีชมพู แครายมีนบุรี ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และเชื่อมกับสายสีเหลือง ลาดพร้าวสำโรง ที่สถานีสำโรง

ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร ซึ่งรัฐบาลโดยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายทั้งช่วงแบริ่งสมุทรปราการ และช่วงหมอชิตสะพานใหม่คูคต  ทำให้ในวันนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวประสบความสำเร็จ เปิดให้บริการครบทุกสถานี  ตลอดเส้นทาง ทั้ง 59 สถานี รวมระยะทางกว่า 68 กิโลเมตร มีรถไฟฟ้าให้บริการมากที่สุด ถึง 98 ขบวน 392 ตู้ และมีการจัดรูปแบบการเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งระบบได้สูงสุด มากกว่า1,500,000 เที่ยวคนต่อวัน ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ตลอดจนส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยรอบเส้นทางรถไฟฟ้ารองรับการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่จะเปิดให้บริการเพิ่มในครั้งนี้ เป็นส่วนสุดท้ายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 7 สถานี ประกอบด้วย  สถานีพหลโยธิน59 (N18) สถานีสายหยุด(N19) สถานีสะพานใหม่(N20) สถานีโรงพยาบาล       ภูมิพลอดุลยเดช(N21) สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ(N22) สถานีแยกคปอ.(N23) และสถานีคูคต (N24) คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารในส่วนต่อขยายช่วงสถานีห้าแยกลาดพร้าว(N9) – สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (N17) เฉลี่ยในวันทำการที่ 132,200 เที่ยว/คนต่อวัน จะเพิ่มขึ้นเป็น  252,200 เที่ยว/คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว เป็นผลจากในเส้นทางนี้มี สถานศึกษา โรงพยาบาลสถานที่ราชการสำคัญตั้งอยู่จำนวนมาก อีกทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯด้านเหนือต่อเนื่องกับจังหวัดปทุมธานี ทั้งด้านถนนพหลโยธินและถนนลำลูกกาเป็นย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่น และประชาชนส่วนใหญ่ต้องเดินทางเข้ามาทำงาน หรือมาเรียนในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากรถไฟฟ้าสายนี้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีอาคารจอดแล้วจร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า จำนวน 2 แห่ง สถานีแยกคปอ. และสถานีปลายทางคูคต รองรับจำนวนรถได้รวม 1,755 คัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่เดินทางได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเปิดให้บริการฟรีถึง 1 ..64

จากนั้นเวลา 10.30 . สถานีกรุงธนบุรี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการเดินรถโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีสถานีคลองสาน) พร้อมทั้งทดลองโดยสารขบวนรถไฟฟ้าสายสีทองจากสถานีกรุงธนบุรีถึงสถานีคลองสาน ซึ่งจะเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการในเวลา 13.00 . เช่นกัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในเมืองมหานครเพื่อให้การเดินทางของประชาชนได้รับความสะดวกและลดปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการจราจรติดขัด ที่ผ่านมาได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการถไฟฟ้าสายต่างๆ ให้ตอบสนองการต่อการพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพื้นที่ย่านเขตคลองสาน เขตธนบุรีมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ของพื้นที่การค้าการลงทุนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการมากมาย จึงได้ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง โดยมีรูปแบบการลงทุนที่ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ โดยกรุงเทพธนาคม     ได้ให้สิทธิพื้นที่โฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้าแก่เอกชน เป็นระยะเวลา 30 ปี และนำรายได้ดังกล่าวมาลงทุนก่อสร้าง โดยทรัพย์สินในโครงการทั้งหมดเป็นของกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มให้บริการ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ลดปัญหาการจราจรแออัด เพิ่มทางเลือกในการเดินทางที่สะดวกสบาย สร้างแหล่งงาน แหล่งท่องเที่ยว และเสริมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่

รถไฟฟ้าสายสีทองแม้จะมีระยะทางสั้นเพียง 1.8 กิโลเมตร แต่ถือเป็นระบบรองที่มีประสิทธิภาพ เพราะเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชนในทุกโหมด ครบทั้งล้อ ราง เรือ โดยเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมที่สถานีกรุงธนบุรีและในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูนราษฎร์บูรณะ) ที่สถานีประชาธิปก และสายสีแดง(หัวลำโพงมหาชัย) ที่สถานีคลองสาน นอกจากนี้ยังเชื่อมการเดินทางทางน้ำสำหรับประชาชนที่จะใช้บริการเรือข้ามฟากและเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าเรือคลองสาน และท่าเรือไอคอนสยาม โดยจะให้บริการฟรี 1 เดือน  ระหว่างวันที่ 16 ..63 – 15 ..64  เริ่มเก็บค่าโดยสารคงที่ 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่16 ..64 เป็นต้นไป สำหรับรูปแบบรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นระบบนำทางอัตโนมัติ  Automated  People Mover (APM) ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสารในพื้นที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบหลัก โครงสร้างขนาดเล็กทำให้ก่อสร้างได้เร็วใช้เวลาประมาณ 2 ปี ไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดิน มีช่วงรัศมีทางโค้งที่แคบที่สุดบริเวณแยกเป็บซี่ เพียง 32.70 เมตรเท่านั้น และแม้แต่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงก็สามารถก่อสร้างได้บนเขตทางสาธารณะ โดยที่ระบบยังคงความสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการเดินทางและความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล ทั้งในตัวรถและภายในสถานี” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าว

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี ไปตามแนวถนนเจริญนครผ่านแยกคลองสาน ไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน  ให้บริการด้วยรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300  จำนวน 3 ขบวน  ขบวนละ2 ตู้  ความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ มีที่จอดรถวีลแชร์   ตู้ละ1 คัน ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.89 เมตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูงของรถ 3.5 เมตร สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 80 กม./ชม. คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 42,000 เที่ยวคนต่อวัน มีความถี่ในช่วงเวลาเร่งด่วน 5-6 นาที และเปิดให้บริการ 06.00-24.00 .

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าที่ไม่มีคนขับประชาชนอาจจะยังไม่คุ้นชิน ช่วงแรกที่เปิดให้บริการ ผู้เดินรถจะจัดเจ้าหน้าที่ขึ้นประจำรถไปพร้อมกับผู้โดยสาร ซึ่งในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาได้มีการทดสอบระบบจนมีความมั่นใจในความปลอดภัย พร้อมทั้ง ได้กำชับเรื่องการให้ความรู้แก่ผู้โดยสารเกี่ยวกับการปฏิบัติต่างๆ ภายในตัวรถเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับระบบ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบดูแลผ่านกล้องวงจรปิดและสื่อสารจากศูนย์ควบคุมได้ตลอดเวลาหากเกิดเหตุฉุกเฉิน สำหรับการปรับปรุงและคืนผิวถนน ขณะนี้ได้คืนผิวถนนกรุงธนบุรีเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาจะคืนผิวถนนครบทั้งหมดในวันที่ 22 ..63 ส่วนถนนเจริญนครได้ประสานกับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการประปานครหลวง (กปน.) ที่อยู่ระหว่างขุดวางท่อใต้ดิน โดยได้รับแจ้งว่า        จะทยอยคืนผิวถนนให้ตั้งแต่เดือนม..64 ไปจนถึงเสร็จสิ้นในเดือนเม..64

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*