ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เตรียมสรุปภาพรวมธุรกิจและตลาดเสนอรัฐบาลวางมาตรการฟื้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 กระตุ้นกำลังซื้อทุกระดับราคา ชะลอมาตรการที่ส่งผลกระทบ หวั่นแคมเปญขายลดราคาพร้อมอยู่ฟรีทำNPLโผล่ในอีก 2-3 ปี

​นายวิชัย  วิรัตกพันธ์

นายวิชัย  วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์(REIC ) เปิดเผยว่าขณะนี้ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาฯจะทำสรุปภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดรวมที่อยู่อาศัย เสนอต่อรัฐบาลสำหรับประกอบการประเมินสถานการณ์พร้อมกับออกมาตรการมากระตุ้นตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี2563 และเพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดขึ้นส่วนตัวเห็นว่ารัฐบาลน่าจะชะลอมาตรการบางอย่างที่จะส่งผลกระทบต่ออสังหาฯ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงควรผ่อนปรนการคุมเข้มสินเชื่อ(LTV-Loan to value) ในที่อยู่อาศัยทุกระดับราคา

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลก็คือ การที่ผู้ประกอบการนำที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดฯสร้างเสร็จมาจัดแคมเปญลดราคา และแคมเปญอยู่ฟรี 2-3ปี เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภค ระบายสินค้า เป็นสิ่งที่น่าจับตามองและระวังว่าจะกลายเป็นหนี้เสีย(NPL:  Non-Performing Loan)เมื่อหมดเงื่อนไขแคมเปญในอีก2-3 ปีแล้วผู้ซื้อจะต้องเป็นคนผ่อนธนาคารเอง หากผู้ซื้อไม่มีความพร้อมในการผ่อนชำระในอนาคต ก็จะเกิดปัญหาตามมาได้

อุปสงค์ (Demand )ภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยปรับลดลง

การนำเสนอข้อมูลไปยังรัฐบาลนั้นเพราะเห็นว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ที่ขยายวงกว้าง ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการหารายได้ในอนาคตและการติดลบของจีดีพี ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ มองว่าจะส่งผลกระทบต่อการโอนกรรมสิทธิ์รวมที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2563 โดยคาดว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศจำนวน 311,719 ยูนิต ลดลงติดลบ16.7% จากปี 2562 และมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์รวม 746,206 ล้านบาท ลดลงตอดลบ14.8 % จากปี 2562

จำนวนการโอนกรรมสิทธิ์รวมที่อยู่อาศัยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน 160,350 ยูนิต (ลดลงติดลบ19.1% เทียบกับปี2562) ปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปีเท่ากับ 181,757 ยูนิต และมีมูลค่ารวม 472,401 ล้านบาท (ลดลงติดลบ17.4  เทียบกับปี2562) ปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย (Average)ต่อปีเท่ากับ 494,398 ล้านบาท

ส่วนประมาณการหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาครวม 151,369 ยูนิต (ลดลงติดลบ14.0%จากปี 2562 )ปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปีเท่ากับ 162,993 ยูนิต และมีมูลค่ารวม 273,805 ล้านบาท(ลดลงติดลบ9.9%จากปี 2562)ปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปีเท่ากับ 269,805 ล้านบาท

จากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์รวมที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2563 นั้นถือว่าปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบในช่วง 5 ปีทั้งจำนวนหน่วย (ยูนิต) และมูลค่า โดยปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปีเท่ากับ 344,750 ยูนิต และ 746,206 ล้านบา (ตามลำดับ)

ด้านภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ คาดปี 2563 จะมีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศรวม 571,196 ล้านบาท ลดลงติดลบ 10.8 %จากปี 2562  ส่วนในไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ มูลค่ารวม 138,238 ล้านบาท ลดลงติดลบ 13.0 %  เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562

อุปทาน (Supply) ที่อยู่อาศัยปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

สำหรับอุปทานศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 251,601 ยูนิต ลดลงติดลบ16.5 % เมื่อเทียบจากปี 2562 ซึ่งจำนวนหน่วยดังกล่าวปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปีเท่ากับ 317,375 ยูนิต

ทั้งนี้ หากแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยจำนวน 97,441 ยูนิต ลดลงติดลบ 20.7 %  โดยปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ย(Average)ต่อปี เท่ากับ 148.160 ยูนิตต่อปีในส่วนภูมิภาคคาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 154,160 หน่วย ลดลงติดลบ 22.7% ซึ่งปรับลดลงต่ำเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 182,452 ยูนิตต่อปีในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จำนวน 60,165 ยูนิต ลดลงติดลบ 17.9 % จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงติดลบ 27.7%  เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 20,590 ยูนิต ลดลงติดลบ18.6% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงติดลบ 36.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่วนในภูมิภาคพบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 39,575 ยูนิต ลดลงติดลบ 27.8% จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงติดลบ 30.9 % เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562

นอกจากนี้จากข้อมูลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ของศูนย์ข้อมูลฯ คาดว่า ปี 2563 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 79,408 ยูนิต เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ประมาณ 35,734 ยูนิต และอาคารชุดเปิดขายใหม่ประมาณ 43,674 ยูนิต โดยรวมแล้วคาดว่าทั้งปีลดลงติดลบ19.9 % เมื่อเทียบกับปี 2562

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*