อัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเปล่าในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 ทำเลตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด ร้อยละ 61.3 ในขณะที่มีค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 มีค่าดัชนีเท่ากับ 293.3 จุด ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 284.7 จุด และปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 229.7 จุด ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในไตรมาสนี้ทำเลที่เพิ่มมากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลายสายรถไฟฟ้าที่เป็นส่วนต่อขยายและมีแผนจะเปิดให้บริการใน อนาคตอันใกล้

ทำเลที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่วนใหญ่เป็นทำเลที่มีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และที่ มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ได้แก่

1) สายสีเขียวเหนือ (คูคต – ลำลูกกา) ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของสายสีเขียว (หมอ ชิต – สะพานใหม่ – คูคต) ที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง มีอัตราขยายตัว YoY ของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.3 เป็นทำเลที่มี การเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินมากที่สุดต่อเนื่องมา 4 ไตรมาสแล้ว
2) สายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) ซึ่งเป็นเส้นทาง รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีอัตราการขยายตัว YoY ของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1
3) สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน – ศาลายา) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัว YoY ของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.0
4) สายสีน้ำเงิน (บางแค – พุทธมณฑลสาย 4) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัว YoY ของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3
5) สายสีเขียวใต้ (สมุทรปราการ – บางปู) ซึ่งเป็นโครงการที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต และสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง – สมุทรปราการ) ซึ่งก่อสร้างเสร็จและเปิด ให้บริการแล้ว มีอัตราขยายตัว YoY ของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่ากันร้อยละ 11.7

วิธีการจัดทำข้อมูล
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทำการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม โดยกำหนดให้ปี 2555 เป็นปีฐาน และจัดทำดัชนีเป็นรายไตรมาส
ในการศึกษาจะใช้ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่าของกรมที่ดิน โดยจะคัดเลือกเฉพาะที่ดินเปล่าไม่รวม สิ่งปลูกสร้าง ที่มีขนาดที่ดินตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป และจะใช้ข้อมูลเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ผู้โอนหรือผู้รับ โอนที่เป็น “นิติบุคคล” เท่านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นราคาซื้อขายจริง ซึ่งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องบันทึก ค่าใช้จ่ายหรือรายได้ให้ถูกต้องเพื่อสามารถคำนวณภาษี และค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
การคำนวณคำดัชนีฯ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Chain Laspeyres โดยราคาที่ดินเปล่าที่นำมาคำนวณคือ ราคาเฉลี่ยต่อตารางวา ซึ่งถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ -ปริมณฑล ตั้งแต่ปี 2555-2559 โดยปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ได่แก่
• 1 ทำเลที่ตั้งของที่ดิน
• 2 แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• 3 เส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนผ่าน

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*