ในช่วงปีที่ผ่านมาบางนาและพื้นที่ใกล้เคียง มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างร้อนแรง เปลี่ยนถ่ายจากเขตอุตสาหกรรม มาเป็นศูนย์กลางของการสร้างที่พักอาศัยอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นพื้นที่ที่ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจเข้ามาจับจองทำเลทองแห่งนี้ เพื่อเปิดตัวโครงการด้านที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง จนพื้นที่โซนบางนาติดอันดับ “ บางนา-ทำเลทองที่อยู่อาศัย” โดยพื้นที่เป้าหมายของกลุ่มผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ ถ.ลาดกระบัง, อ่อนนุช-ลาดกระบัง ที่มุ่งสู่จังหวัดฉะเชิงเทรา, เปร็ง-สยามโปโล เลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ-นิคมอุตสาหกรรมบางปู, บางบ่อ, บางพลี, กิ่งแก้ว, สุวินทวงศ์มุ่งสู่จังหวัดปราจีนบุรี ตลาด 100 ปี, ถ.ศรีวารีน้อย เชื่อมต่อวงแหวนกาญจนาภิเษก, มอเตอร์เวย์

มร.อัมฤทธิ์ทานชู รอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท กรีนฟิลด์ แอดไวซอรี่ จำกัด กลุ่มทุนสิงคโปร์ ที่เข้ามาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท ฟัลครัม เวนเจอร์ส จำกัด พัฒนาและเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยระดับพรีเมี่ยมในชื่อ“พานารา เทพารักษ์”ได้วิเคราะห์ภาพทำเลดาวรุ่งเศรษฐกิจโซน“บางนา” ว่าโซนบางนาเป็นทำเลศักยภาพที่เติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลุ่มทุนที่มีแลนด์แบงก์แปลงใหญ่ต่างเตรียมพัฒนาโครงการในพื้นที่โซนนี้ โดยรวบรวมความหลากหลาย พรั่งพร้อมทั้ง ที่อยู่อาศัยอาทิ การค้าปลีก ศูนย์การค้า ต่อเนื่องไปถึงโครงการบ้านเดี่ยวระดับพรีเมี่ยม ที่มีระดับราคาที่จับต้องได้ ไม่สูงมากนัก

ทำเลที่ตั้ง & ระบบขนส่งมวลชนในอนาคต

ด้วยโซนพื้นที่ที่สามารถเป็นฮับ เชื่อมโยงความสะดวกในการเดินทางออกไปชายฝั่งทะเลตะวันออกขณะเดียวกันยังสามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพได้อย่างสะดวกง่ายดาย เขตบางนาและบริเวณโดยรอบจึงกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ เป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามที่รัฐบาลกำหนด ให้เป็น EEC ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นที่ตั้งของ 12 นิคมอุตสาหกรรม บริษัท โลจิสติกส์ และศูนย์กลางการกระจายสินค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตบางนา ทำให้พื้นที่ส่วนนี้เป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย

ปัจจุบัน“บางนา”ถูกจัดเป็นทำเลทอง มีการสัญจรเชื่อมต่อกับส่วนพื้นที่อื่น ๆ ของเมืองผ่านระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมถึงถนนสายหลักอย่างบางนา – ตราด ซึ่งเชื่อมโยงถนนสายสำคัญอย่าง สุขุมวิท ศรีนครินทร์ รวมถึงโครงข่ายทางด่วนพิเศษเฉลิมมหานคร พื้นที่โซนบางนายังถูกโอบล้อมด้วยวงแหวนรอบนอก ทั้งมอเตอร์เวย์ และวงแหวนกาญจนาภิเษก อีกทั้งแผนสร้างระบบขนส่งมวลชนในอนาคตจะสนับสนุนให้การเดินทางเชื่อมต่อในทุกเส้นทางมีความสะดวกสบายด้วยยิ่งขึ้น ประกอบด้วยโครงการ ดังนี้

  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระยะทาง 4 กม. ส่วนต่อขยายจาก BTS สำโรง- ลาดพร้าว จะแล้วเสร็จปี 2564 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ สามารถเชื่อมต่อเขตบางนากับพื้นที่กรุงเทพฯ ตอนเหนือทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  • รถไฟฟ้าบางนา – สุวรรณภูมิ ระยะทาง 3 กม. ซึ่งจะเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวปัจจุบัน (สายสุขุมวิท) ที่ BTS บางนาถึงสุวรรณภูมิ โดยจะวิ่งไปตามถนนบางนา – ตราด มีทั้งหมด 14 สถานี
  • สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) – ซึ่งเป็นสถานีรถโดยสารและรถตู้ ที่เชื่อมต่อกรุงเทพ-จังหวัดทางภาคตะวันออก ที่ในอนาคตจะย้ายไปอยู่สี่แยกโซนบางนา
  • โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) โดยมีส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ จากสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง-สนามบินอู่ตะเภา รวมระยะทาง 220 กม. จำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสถานีอู่ตะเภา

รัฐหนุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนผุดโครงการ

ภาครัฐบาลให้ความสำคัญกับพื้นที่โซนบางนาในการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกทุกด้านที่จำเป็นอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้โครงการเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ที่มีอยู่และที่กำลังจะเกิดขึ้น เตรียมเปิดตัวรับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่โซนนี้อย่างร้อนแรง เพื่อมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งและการพักผ่อนที่หลากหลาย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียงให้มีความหลากหลาย อาทิ การพัฒนาของกลุ่ม The Bangkok Mall,  Central Village; เมกา ซิตี้ บางนา. Siam Premium Outlets Bangkok; The Forestias  ที่จะเปลี่ยนโฉมและยกระดับโซนบางนาให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญ และทำเลแห่งนี้ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ อย่างเช่น โรงเรียนนานาชาติบางกอกพัฒนา, โรงเรียนนานาชาติไทย – สิงคโปร์, โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์,  โรงเรียนเซนต์แอนดรูส์อินเตอร์เนชั่นแนล, Concordian International School,  โรงเรียนนานาชาติ ดิษยะศริน อินเตอร์เนเชอร์แนล เพร็พพะทอรี สคูล แบงค็อก , โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานานาชาติ Didyasarin, โรงเรียนนานาชาติไทย – จีน และโรงเรียนเซนต์โจเซฟบางนา เป็นต้น

ความต้องการที่อยู่อาศัย

ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้พื้นที่นี้เป็นที่ดึงดูดสำหรับครอบครัวเล็ก ๆ และนักลงทุน มีทาวน์เฮ้าส์จำนวนมากและการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียง ดีเวลลอปเปอร์ หลายค่าย เช่น บมจ. แสนสิริ, ฟัลครัม เวนเจอร์, บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์, บมจ. แอล. พี. เอ็น, บมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์, บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด, บมจ. เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เป็นต้น

บทสรุป  (Conclusion)

โอกาสของแหล่งงานใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพตะวันออกและสุวรรณภูมิ รวมถึงมูลค่าเพิ่มในการอยู่อาศัยใกล้สถานที่การทำงาน ฉุดให้วงการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เป็นไปอย่างคึกคัก รัฐบาลได้ระดมสร้างโครงการสาธารณูปโภคสาธารณูปการพื้นฐาน ยิ่งส่งเสริมให้เกิดโครงการใหม่ๆมากขึ้น ดีเวลลอปเปอร์ต่างปรับแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับโอกาสนี้ ความสะดวกจากโครงการพื้นฐานของรัฐ ส่งเสริมภาคธุรกิจในวงกว้าง ทั้งวงการค้าปลีก, โรงเรียน, โรงพยาบาลและอื่น ๆ เมืองที่อยู่อาศัยแบบบูรณาการกำลังฉายภาพที่ชัดเจน กับ Greater Bangna ความน่าสนใจอยู่ที่ตลาดครอบครัวรายได้ระดับปานกลาง ที่ต้องการขยับขยายยกระดับคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*