รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.(ฉบับย่อ) ครั้งที่ 8/2562 วันที่ 18 ธันวาคม 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เผยแพร่ ณ วันที่ 2 มกราคม 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินและการประเมินภาวะเศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 2563 จากแนวโน้มปริมาณการค้าโลกที่ ปรับดีขึ้นและสินค้าคงคลังของภาคธุรกิจที่เคยอยู่ในระดับสูงเริ่มปรับลดลง ส่งผลให้ภาคการผลิตและการจ้างงาน มีสัญญาณปรับดีขึ้น นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าได้รับปัจจัยบวกจากวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มจะ กลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า ตลอดจนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นหลังการเจรจาทางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงระยะแรก (Phase One) อย่างไม่เป็นทางการ เศรษฐกิจประเทศตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงบ้างในปีนี้ แต่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 2563 จากภาคการผลิต และการจ้างงานในภาคบริการที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมถึงแนวโน้มการใช้ นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงสอดคล้องกับเป้าหมาย ที่รัฐบาลจีนก าหนด เนื่องจากภาครัฐมีแผนใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างระมัดระวัง อาทิ การลดอัตราภาษีและ การด าเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนสามารถขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ แม้อาจต้อง เผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้า เศรษฐกิจเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่นและจีน) มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการส่งออกสินค้าสอดคล้องกับปริมาณการค้าโลก วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ และการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีสัญญาณปรับดีขึ้น

นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนและการจ้างงานที่อยู่ใน เกณฑ์ดี รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะเป็นแรงสนับสนุนการขยายตัวของ เศรษฐกิจในระยะต่อไป การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศคู่ค้ามีทิศทางผ่อนคลายหลังจากปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องและดำเนินมาตรการเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้ม ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับธนาคารกลางอื่น ในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่การประชุมครั้งก่อน

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีโอกาสขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐานตามความเสี่ยงในระยะ ปานกลางถึงยาวที่เพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินโลก โดยการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นระยะเวลานานขึ้น (lower for longer) ส่งผลให้ภาคธุรกิจ กลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-banks) และภาครัฐในหลายประเทศก่อหนี้มากขึ้น รวมถึงส่งผลให้นักลงทุนแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในเกือบทุกประเภทสินทรัพย์ จนอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่

(1) การกีดกันทางการค้าที่อาจทวีความรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนใน ระยะต่อไป รวมถึงสหรัฐฯมีโอกาสปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์เป็นการทั่วไปในอนาคต

(2) ความไม่แน่นอนของ รูปแบบและระยะเวลาที่สหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และ

(3) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจทวีความรุนแรงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะสถานการณ์การประท้วงในประเทศต่าง ๆ ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน และเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมทั้ง ความเสี่ยงต่าง ๆ ข้างต้นเพื่อประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านความเชื่อมโยงในแต่ละช่องทางอย่างใกล้ชิด

ภาวะตลาดการเงิน

บรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้นในระยะสั้นจากแนวโน้มการบรรลุข้อตกลงทางการค้า ระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน สถานการณ์ Brexit ที่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจของ ประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลก เคลื่อนไหวผันผวนลดลง นอกจากนี้ ธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มดำเนินนโยบาย การเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง จึงเป็นปัจจัยบวกเพิ่มเติมให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้าง (risk-on sentiment) และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น ส าหรับตลาดการเงินในประเทศ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งก่อนส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นของไทย ปรับลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยปรับสูงขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ แต่ปรับเพิ่มขึ้นได้จ ากัด เนื่องจากนักลงทุนไทยและต่างชาติต้องการถือครองพันธบัตร ระยะยาวของไทยเพิ่มขึ้นหลังการปรับเพิ่มน้ าหนักการลงทุนในพันธบัตรไทยในดัชนีอ้างอิงเพื่อการลงทุน (benchmark index) ในพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก

ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาททรงตัวจากการประชุมครั้งก่อน โดยเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางและสอดคล้องกับ สกุลเงินภูมิภาคมากขึ้น เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการประกาศการผ่อนคลาย กฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงิน รวมทั้งข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดที่ชะลอลงกว่าที่นักลงทุนในตลาดเงิน คาดการณ์ ส่งผลให้เงินบาทและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อาทิ เงินเยนและราคาทองคำ เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน น้อยลง อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่ผ่อนคลายต่อเนื่องและบรรยากาศการลงทุนใน ตลาดเงินโลกที่ปรับดีขึ้น ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่า ประกอบกับสถาบันจัดอันดับบางแห่งปรับมุมมอง ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเป็นเชิงบวก จึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้างในระยะหลัง คณะกรรมการฯ เห็นว่าตลาดเงินในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยต่างประเทศและใน ประเทศ อาทิ ความไม่แน่นอนของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจยืดเยื้อ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและไทย ตลอดจนแนวโน้มการด าเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีนัยต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และอาจกดดันให้ราคาสินทรัพย์และอัตราแลกเปลี่ยนของไทยผันผวนได้

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังกังวลต่อ สถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศที่มีอยู่สูง รวมถึงให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและ พิจารณาความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพิ่มเติม

ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าศักยภาพมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้า หดตัวมากกว่าที่ประมาณการไว้และมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงกว่าคาด จากการกีดกัน ทางการค้า รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของ ภาคการส่งออก การส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเกือบทุก สัญชาติ การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าประมาณการเดิม โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นสำคัญ แต่ในปีหน้ามาตรการดังกล่าวทยอยหมดลง ทำให้การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้ตามรายได้ของครัวเรือนและการจ้างงานที่ ปรับลดลงโดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อส่งออกและผลกระทบจากภัยแล้ง ประกอบกับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิม ส่วนหนึ่งจากการเลื่อนโครงการ ร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐาน (PPP) บางโครงการ อย่างไรก็ดี ยังได้รับแรงสนับสนุนจาก การฟื้นตัวของภาคการส่งออกอย่างค่อยเป็นค่อยไปและโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ยังมีต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการเดิม ส่วนหนึ่งเนื่องจากรัฐวิสาหกิจเลื่อนการลงทุนและ ปรับลดกรอบงบลงทุนในปี 2563

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2562 และร้อยละ 2.8 ในปี 2563 ปรับ ลดลงจากที่ประเมินไว้ในรายงานนโยบายการเงินฉบับก่อนที่ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 3.3 ตามล าดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในปี 2564 ตามโครงการ PPP และโครงการลงทุนของภาครัฐ บางโครงการที่เลื่อนไปดำเนินการในปี 2564 สำหรับความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจยังโน้มไปด้านต่ำ โดยมี โอกาสจาก

(1) ปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจชะลอลงกว่าคาดจากการกีดกันทางการค้าที่อาจกลับมา รุนแรงขึ้น

(2) อุปสงค์ในประเทศที่อาจขยายตัวชะลอลงกว่าคาดจาก พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 และการดำเนินนโยบายภาครัฐที่อาจล่าช้า รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่อาจชะลอมากกว่าคาด ตามรายได้ ครัวเรือนที่อาจชะลอลงจากหลายปัจจัย อาทิ ผลกระทบของภาคการส่งออกต่อการจ้างงานและภัยธรรมชาติที่อาจ รุนแรงขึ้น และ

(3) ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะปานกลาง อย่างไรก็ดี โอกาสที่เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานมาจาก (1) เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัว มากกว่าคาดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐ การกีดกันทางการค้าที่คลี่คลายลง รวมถึงวัฏจักร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจฟื้นตัวเร็วและแรงกว่าคาด และ (2) อุปสงค์ในประเทศที่อาจขยายตัวมากกว่าคาดจาก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม

คณะกรรมการฯ อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยเห็นว่า แม้ปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มปรับดีขึ้นแต่ภาคการส่งออกไทยอาจได้รับผลดีไม่เต็มที่ เนื่องจากปัจจัยเชิง โครงสร้าง เช่น (1) ปริมาณการค้าโลกส่วนหนึ่งปรับดีขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนทางการค้ากับไทยน้อย และ (2) การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกไทย

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ อภิปรายถึงพัฒนาการของการจ้างงานที่ปรับลดลงในหลายภาคเศรษฐกิจและ เห็นควรให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงานที่จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและการบริโภค ภาคเอกชนในระยะต่อไป เช่น การใช้ระบบการผลิตอัตโนมัติทดแทนแรงงาน (automation) การปรับเปลี่ยน รูปแบบการจ้างงานจากงานประจำเป็นการจ้างงานชั่วคราว รวมถึงความท้าทายของการพัฒนาทักษะเดิม (upskill) และการเสริมทักษะใหม่ (reskill) ของแรงงาน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2562 และปี 2563 มีแนวโน้มต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าขอบล่างของ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาดตามเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในระดับต่ำและอุปทาน พลังงานที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2563 น้อยกว่าที่เคยประเมินไว้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นในปีหน้า และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้ม ปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 สำหรับความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังโน้มไปด้านต่ำสอดคล้องกับความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจ

การดำเนินนโยบายการเงิน

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิมและต่ำกว่าศักยภาพ จากการส่งออกที่ลดลงซึ่งส่งผลไปสู่การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่า ขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สองครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับต่ำ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบกับสกุลเงินประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แข็งค่าชะลอลง โดยเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางและสอดคล้องกับสกุลเงินภูมิภาคมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้านเสถียรภาพระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้และจะประเมินความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตต่อไป เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยคณะกรรมการฯ ได้อภิปรายถึงปัจจัยที่มีผลต่อ การพิจารณาดำเนินนโยบายการเงิน ดังนี้

1) เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพ จากการส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าประมาณการเดิมและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด ซึ่งส่งผลไปสู่ การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และ ส่งผลให้การส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นบ้างในปีหน้า ด้านการใช้จ่าย ภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ ากว่าที่ประเมินไว้จากการเลื่อนลงทุนบางโครงการ ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากรายได้ของครัวเรือนและการจ้างงานที่ปรับ ลดลงในหลายภาคเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจ ไทยในระยะต่อไปยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งจากปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยในประเทศ ได้แก่ (1) การกีดกัน ทางการค้าระหว่างประเทศและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งมีนัยต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ คู่ค้าสำคัญของไทยที่อาจเติบโตชะลอลงโดยเฉพาะจีนและเอเชีย (2) ความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายภาครัฐ ความคืบหน้าของโครงการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน (3) การบริโภคภาคเอกชนที่อาจชะลอตัวกว่าคาดจากการจ้างงานและรายได้ที่ลดลง และ (4) ความเสี่ยงของ ภัยแล้งในปีหน้าที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ภาคเกษตร

คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่ยังแข็งค่าอยู่เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แม้จะแข็งค่า ชะลอลงและเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและ เศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะภาคการผลิตและการจ้างงานในภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก รวมถึง ผลกระทบต่อกำไรและสภาพคล่องของธุรกิจ และความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งด้อยลงในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ ได้รับผลกระทบจากการส่งออก คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทและเงินทุน เคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมถึงให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ก ากับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อ เอื้อให้เงินทุนไหลออกและพิจารณาความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพิ่มเติม

2) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 2562 และปี 2563 มีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ จากราคาพลังงานที่ต่ำ กว่าคาดตามเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในระดับต่ำและอุปทานพลังงานที่จะเพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อยังมี ความไม่แน่นอนจากความผันผวนของราคาน้ ามันและสภาพอากาศ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตที่ท าให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นช้ากว่าในอดีต อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ ประเมินว่านโยบายการเงินที่ได้ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทยอยปรับเพิ่มขึ้น เข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

3) ความเสี่ยงในระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วนด้วยมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ ดำเนินการไป อาทิ ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับดีขึ้นหลังมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้ สะท้อนจาก การเก็งกำไรที่ชะลอลงและการปรับตัวของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในจุดอื่น ๆ ยังไม่ปรับดีขึ้นและ เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม อาทิ (1) ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs ที่มีแนวโน้ม ด้อยลงในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะหากมีปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่กระทบรายได้เพิ่มเติม ขณะที่ หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้ครัวเรือนสะสมความเปราะบางมากขึ้น (2) พฤติกรรมแสวงหา ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และสหกรณ์ออมทรัพย์ และ (3) ความเสี่ยงใน อสังหาริมทรัพย์จากอุปทานคงค้างในบางพื้นที่

คณะกรรมการฯ เห็นว่าในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ ากว่าศักยภาพและยังมีความเสี่ยง ด้านเสถียรภาพระบบการเงิน การดูแลความเสี่ยงต่าง ๆ ควรใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายควบคู่กับการใช้ มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ร่วมกันอย่างเหมาะสม คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ ธปท. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันการใช้มาตรการเชิงโครงสร้างในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนและธุรกิจ SMEs อาทิ การนำแนวทางการให้ สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ (responsible lending) ไปใช้อย่างเหมาะสม การปรับโครงสร้างหนี้และคลินิกแก้หนี้ รวมทั้งการสร้างวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออมของครัวเรือน

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามผลของมาตรการที่ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และศึกษามาตรการที่เหมาะสม เพิ่มเติมเพื่อดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ ได้อภิปรายเกี่ยวกับการส่งผ่านนโยบายการเงินภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดย เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ตลอดจนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ สั้นโดยรวมปรับลดลงสอดคล้องกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ จะติดตาม พัฒนาการของข้อมูล (data-dependent) ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นถึงความจำเป็นในการประสานเชิง นโยบายและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการฟื้นตัว และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบกับ ความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจาก ทุกภาคส่วน

อนึ่ง รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.(ฉบับย่อ) ครั้งที่ 8/2562 วันที่ 18 ธันวาคม 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ ณ วันที่ 2 มกราคม 2563

กรรมการที่เข้าร่วมประชุม นายวิรไท สันติประภพ (ประธาน) นายเมธี สุภาพงษ์ (รองประธาน) นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นายคณิศ แสงสุพรรณ นายสุภัค ศิวะรักษ์ นายสมชัย จิตสุชน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*