มองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนของการลดภาระรายจ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนปี 2562ส่งผลเชิงบวกต่อธุรกิจอสังหาฯ รวมถึงมาตรการหลังสุดที่ภาครัฐสนับสนุนเงิน (Cash Back) จำนวน 50,000 บาทต่อราย ช่วยสร้างโมเมนตั้มถึงไตรมาสแรกปี 2563

นายอิสระ บุญยัง นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ในฐานประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทกานดา พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนของการลดภาระรายจ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนปี 2562 ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2562 ส่วนตัวมองว่าเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก็รวมถึงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้คลายกฎมาตรการ (Loan to Value : LTV)  มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2562 ด้วยการผ่อนปรนการสำหรับการกู้ร่วม โดยถ้าผู้กู้ไม่มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ จะผ่อนปรนเสมือนยังไม่เป็นผู้กู้ในครั้งนั้น เนื่องจากไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย เพียงแค่ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว และมีผลบังคับใช้ทันที จะทำให้ภาพโดยรวมการการโอนกรรมสิทธิ์ชะลอตัวไม่มากจากเดิมเมื่อช่วงต้นปีที่ไม่ม่มาตรการใดๆออกมาคาดว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์น่าจะลดลง 15-20% เทียบกับปีก่อน แต่พอมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนการลดภาระรายจ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนคาดการณ์ว่ายอดโอนกรรมสิทธิ์น่าจะลดลงเพียง 5 %

“มาตรการที่ออกมาโดยเฉพาะมาตรการหลังสุดโครงการ บ้านดีมีดาวน์ ที่ภาครัฐสนับสนุนเงิน (Cash Back) จำนวน 50,000 บาทต่อราย  น่าจะสร้างโมเมนตั้มถึงไตรมาสแรกปี 2563 หลังจากนั้นอสังหาฯจะไปต่อได้ดีแค่ไหน อย่างไร ยากที่จะคาดการณ์เพราะต้องดูโดยรวมเศรษฐกิจอีกทีหนึ่ง” นายอิสระ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มองว่า ยังคงต้องมีความระมัดระวังในการลงทุนพัฒนาโครงการหรือการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ยังมองว่าปีหน้าตลาดยังคงชะลอตัวต่อจากปี 2562 ที่มีการเปิดตัวลดลงมากกว่า 30 % สถานการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2554 เป็นการปรับฐาน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพรวมทำให้ไม่เกิดปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย

ส่วนการแข่งขันของตลาดที่อยู่อาศัยในปีหน้า มองว่ายังคงมีการแข่งขันกันรุนแรงระหว่างซัพพลายใหม่ด้วยกันเอง ในขณะที่ซัพพลายเก่าหรือสินค้าคงค้างที่อยู่ในมือของผู้ประกอบการก็คงต้งหาวิธีการระบายสินค้าออก ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็คือ แคมเปญโปรชั่นที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ส่วนใหญ่จะให้มากกว่ามาตรการรัฐ การอัดแคมเปญของผู้ประกอกบารบวกกับมาตรการของภาครัฐดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ที่มีกำลังซื้อตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วขึ้น รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.5% เป็น 1.25%

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” ซึ่งภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ 50,000 บาทต่อราย สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือนหรือไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี จำนวน 100,000 ราย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยโครงการฯ นี้ จะช่วยหนุนด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยในการที่จะทำแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเงินไปผ่อนชำระที่อยู่อาศัยหรือใช้จ่ายเพื่อการอื่นได้

โครงการฯ ดังกล่าวที่ออกมาจึงนับว่าเป็นผลด้านบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการฯ นี้ ผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุนจะต้องผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาวะรายได้และการมีงานทำ รวมถึงคุณสมบัติต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการฯ กำหนด  นอกจากนี้ยังเหลือเวลาไม่นานก็จะจบปี 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลทั้งปี 2562 น่าจะขยับไปอยู่ที่ประมาณ 177,000 หน่วย หรือหดตัวประมาณ 10.0% จากกิจกรรมที่ชะลอลงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้แต่นับว่าเป็นภาพที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในระยะข้างหน้า ก็อาจจะทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อที่อยู่อาศัยในระยะถัดไป เนื่องจากมาตรการอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะทยอยสิ้นสุดในปี 2563 ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อต้องเร่งตัดสินใจ

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*