เซ็นทรัลพัฒนาฯ ประการแผน “สร้างงาน สร้างเมือง สร้างประเทศ เป็น Center of Life ของทุกจังหวัด”เสริมนโยบายภาครัฐ ทุ่มงบกว่า 22,000 ล้านบาท พัฒนา 3 โครงการมิกซ์ยูส-พลิกโฉม 2 ศูนย์การค้า-ขยายพื้นที่ 12 สาขาเดิม พร้อมเดินหน้าโครงการร่วมทุน ‘Dusit Central Park’และเร่งศึกษาแผนปรับโครงการเครือGLANDเป็น New CBD แห่งใหม่ ตั้งเป้ารายได้โตไม่ต่ำกว่า 13%ต่อปี
นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยถึงแผนการลงทุนของบริษัทระยาวยาวถึงปี 2565 ได้การทุ่มงบประมาณกว่า 22,000 ล้านบาท ในการดำเนินการ 3 ส่วน เพื่อเสริมภาครัฐบุกเบิกเมืองเศรษฐกิจใหม่ และปั้นย่าน New Urbanized District สำคัญของกรุงเทพฯ ตามแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ประกอบด้วย

 

1.พัฒนาโครงการมิกซ์ยูสใน 3 จังหวัด ให้เป็น Golden District ของจังหวัด ได้แก่

    –เซ็นทรัลพลาซา อยุธยา ตั้งอยู่บนพื้นที่ 47 ไร่  ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้า, Tourist Attraction, โรงแรม,   ที่พักอาศัย, และคอนเวนชั่นฮอลล์ ด้วยการออกแบบที่เชิดชูเอกลักษณ์ของเมืองอยุธยาในอดีต ผ่านดีไซน์     ร่วมสมัย โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองอยุธยาที่นักท่องเที่ยวทั้งไทย-เทศ ต้องมา check in เป็นที่แรกเมื่อมาถึง ด้วยจุดขายของโครงการอย่าง ‘นิทรรศน์พระนครฯ’ เรียนรู้ประวัติศาสตร์อยุธยาผ่าน Interactive Gallery แห่งแรก และ ‘ทรรศนาอโยธยา’ จำลองวิถีชีวิตอยุธยายุคเก่านำมาเล่าใหม่ ในบรรยากาศ outdoor แบบย้อนยุคด้วยร้านค้าเสมือนอยุธยาสมัยก่อน และมีชุดไทยให้เปลี่ยนก่อนเดินทางเยี่ยมชมเพื่อสัมผัสประสบการณ์เสมือนได้ย้อนยุคกลับไปอยุธยาโบราณจริงๆ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 6,200 ล้านบาท คาดว่าโครงการจะเปิดให้บริการไตรมาสที่ 2 ปี 2564

   -เซ็นทรัลพลาซา ศรีราชา ตั้งอยู่บนพื้นที่ 27 ไร่ ภายใต้แนวคิด Living Green in Smart City of EEC Center โครงการที่ซีพีเอ็นลงทุนเสริมแผนภาครัฐในเมืองหลักภาคตะวันออก ผลักดันศรีราชาเป็นเมืองเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดใน EEC ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่คู่ขนานไปกับภาครัฐ เพื่อเชื่อมโยง กรุงเทพฯ – ชลบุรี – เพิ่มจิ๊กซอว์ ศรีราชา – บรรจบ ระยอง ให้ครบ โดยศรีราชาเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) และจะเป็น MICE Hub ของ EEC Center จึงต้องตอบโจทย์ด้วยศูนย์กลางการใช้ชีวิตที่ทันสมัยด้วยโครงการมิกซ์ยูส ใจกลางศรีราชาและแหลมฉบัง ประกอบด้วย ศูนย์การค้า, คอนเวนชั่นฮอลล์, เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์, ออฟฟิศ และโรงแรมในอนาคต โดยเป็นครั้งแรกที่มีศูนย์การค้าแบบ Semi-Outdoor โมเดลเดียวกับเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ นอกพื้นที่กรุงเทพฯ ในคอนเซ็ปต์ ‘Living Green in Smart City of EEC Center’ สร้าง Third Place ให้คนศรีราชาได้หลบหลีกจากความวุ่นวาย มาพักผ่อนในบรรยากาศอบอุ่น ผ่อนคลาย โดยที่นี่เป็นศูนย์การค้าฟอร์แมตใหม่แบบ Lifestyle Thematic Mall ที่แบ่งโซนร้านค้าตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ตกแต่งเป็นธีมห้องต่างๆ ให้บรรยากาศเป็นกันเองเหมือนอยู่บ้าน พร้อมมี Outdoor walking street ที่ตกแต่งโดย integrate ธรรมชาติเข้ากับดีไซน์ที่สื่อบ่งบอกจุดเด่นของศรีราชา บนพื้นที่ indoor และ outdoor ไว้ที่นี่ที่เดียวสร้าง seamless shopping journey อย่างแท้จริง มูลค่าโครงการทั้งหมด 4,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

   –เซ็นทรัลพลาซา จันทบุรี  ตั้งอยู่บนพื้นที่ 46 ไร่ สร้าง format ใหม่ ภายใต้แนวคิด The Shining Gem of EEC Plus 2 โดยซีพีเอ็นจะปูพรมภาคตะวันออก จะเป็น The Best Modern Living Area ที่แรกที่ดีที่สุดในจันทบุรี บนทำเลศักยภาพที่มีทั้งศูนย์การค้า, Local market, คอนโดมิเนียมและที่พักอาศัย รวมถึง Premium Sport Club & Social Park ริมน้ำตอบรับไลฟ์สไตล์เมืองเติบโตใหม่ ที่นี่เปรียบเหมือน “The Shining Gem of EEC plus 2” ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งจันทบุรีและตราด บริษัทฯ เป็น Top developer รายแรกที่เห็นศักยภาพของจังหวัดในฐานะเมืองเชื่อมโยงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่กำลังเติบโต อีกทั้งยังเป็นมหานครผลไม้เมืองร้อนของโลก และศูนย์กลางการค้าขายพลอยและอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดของโลก รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแนวไลฟ์สไตล์อีกด้วย โดยมีมูลค่าโครงการ 3,500  ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2565

 

2.พลิกโฉม 2 ศูนย์การค้า คือ

  -เซ็นทรัลพลาซา พระราม2 เป็น The Largest Regional mall – Gateway of South Bangkok  โดยจะผลักดันให้ย่านพระราม 2 กลายเป็น new urbanized district แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ซึ่งจะพลิกโฉมยกเครื่องศูนย์ฯใหม่ทั้งหมด ทั้งด้านดีไซน์ การเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ ปรับปรุงร้านค้าที่มีอยู่เดิม โดยธุรกิจต่างๆ ของ Central Group อาทิ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล,TOPs, B2S ก็พร้อมใจกันปรับโฉมครั้งใหญ่ เพื่อขยายและสร้างปรากฏการณ์พร้อมกัน และที่โดดเด่นที่สุดคือ จะมีการ re-create พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ชื่อว่า สวน Central Plearn Park ที่มีขนาดใหญ่ถึง 37 ไร่ ให้เป็นเหมือน The Oasis of South Bangkok ที่จะเป็นพื้นที่สำหรับ Family leisure hub ตอบรับไลฟ์สไตล์กลุ่มครอบครัวกำลังซื้อสูง ประกอบไปด้วย Food Garden &  Fashion Park, Kids Gym, Multi-sport recreation (ลู่วิ่ง, bike lane, ร้านค้าขายสินค้าแนวสปอร์ต) และเป็น Pet Community ที่มีทั้ง โรงพยาบาลสัตว์ Pet playground, Pet pool และ Pet Shop โดยใช้งบลงทุนประมาณ 1,500 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 1 ปี 2565

  -เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา  ภายใต้แนวคิด Living Lab of Ramindra กับการพลิกโฉมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 26 ปี เพื่อรองรับกลุ่มประชากรและ Catchment ที่เติบโตขึ้น จากโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลดังกล่าว ทำให้มีความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนาตาม Transit-oriented development ให้เป็น TOD format ใหม่ การเติบโตของ infrastructure ในย่านรามอินทรา ด้วย Monorail สายสีชมพู คอนโดฯ โรงเรียนนานาชาติ และโรงพยาบาลในย่านรามอินทรา โดยโครงการนี้จะเป็น Community ใหม่ ที่เป็นเหมือน Third Place ดังเช่นที่เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เคยทำจนประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยจะช่วยทำให้ผู้คนในย่านนี้ได้ Convenient, Connected และ Comfortable for everyday life ด้วยการเป็นเดสติเนชั่นทั้งด้านอาหาร กีฬา Co-living Space รองรับทุกความต้องการ โดยใช้งบลงทุนประมาณ 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2564


3.การขยายพื้นที่ศูนย์การค้า 12 แห่ง ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา พระราม 9, เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น, เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต, เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช, เซ็นทรัล มารีนา พัทยา, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย และเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเริ่มดำเนินการในปี 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เศรษฐกิจและสังคมไทยเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

“ในปี 2563 เราจะไม่มีการประกาศพัฒนาโครงการใหม่ แต่จะพัฒนาโครงการที่ประกาศไปแล้ว และปรับปรุงศูนย์การค้าเดิมให้ทันสมัยมากขึ้น  ซึ่งการประกาศเดินหน้าพัฒนาโครงการ ศูนย์การค้า และ Mixed-use development ครั้งสำคัญ ที่จะเป็นแผนเพื่อส่งเสริมการ สร้างงาน สร้างเมือง สร้างประเทศ เป็น Center of Life ของทุกจังหวัด’ ที่ตอบรับไลฟ์สไตล์ที่พัฒนาไปและลงลึกกับความต้องการของคนและชุมชนในแต่ละโลเคชั่นแบบ Area-Based Creation พร้อมทั้ง ‘Magnify Local Essence’ ดึงจุดเด่นของพื้นที่มาสร้างเป็น ‘Magnet’ ช่วยยกระดับบทบาทของพื้นที่นั้นๆ ในระดับประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยซีพีเอ็นได้นำเอา 3 หัวใจหลักที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ คือ การท่องเที่ยว การพัฒนาตามโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และการเทรดดิ้งในอุตสาหกรรมหลักของประเทศมาเป็นตัวแปรในการพัฒนาโครงการใหม่ของบริษัท ซึ่งโครงการใหม่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นโมเดลที่จะนำพาเอา net positive impact ไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และนี่จะเป็นอีกครั้งที่         ซีพีเอ็นจะมีส่วนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาชุมชนในแต่ละที่ไปพร้อมๆ กัน” นางสาววัลยา กล่าว

นางสาววัลยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนอีก 2 โครงการใหญ่ ที่ไม่อยู่ในงบลงทุนกว่า 22,000 ล้านบาท คือ โครงการร่วมทุน ‘Dusit Central Park’ โครงการระดับเวิลด์คลาสที่ยิ่งใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ มูลค่าอีกกว่า 36,700 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567 และยังมีโครงการต่างๆ อีกหลายโครงการภายใต้บริษัท GLAND โดยเฉพาะโครงการพระราม 9 จากการเข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา  ซึ่งได้จัดสรรผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยโครงการอยู่ในระหว่างการทำแผน คาดว่าจะสามารถสรุปผลและประกาศโครงการใหญ่ได้ในปี 2563  โดยหวังจะพลิกย่านพระราม 9 ให้เป็น New CBD แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ

ด้านแผนการลงทุนในต่างประเทศภายหลังจากที่เปิดตัว “เซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ @มาเลย์” ไปเมื่อกลางปี2562 ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบอื่นๆที่มาเลเซียอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามด้วย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลและกฎหมายการลงทุนต่างๆ จึงยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ในขณะนี้

โดยบริษัทฯตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไม่ต่ำกว่า 13%ต่อปี โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีรายได้รวมประมาณ 23,666 ล้านบาท ส่วนปี 2558 มีรายได้เพิ่มเป็นกว่า 25,000 ล้านบาท ส่วนปี 2559 เพิ่มเป็นกว่า 29,000 ล้านบนาท และปี 2560 เพิ่มขึ้นมาที่กว่า 30,000 ล้านบาท

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*