จากงานเสวนากรุงเทพจตุรทิศ : โลกเปลี่ยน กฎ-กติกาเปลี่ยน อสังหาฯรุกรับให้ทัน ในวันที่ 23 กันยายน 2562 จัดโดยบริษัทพร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด ประเด็นของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฯยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนและผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพเป็นอย่างมาก โดยนายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้ข้อมูลในงานเสวนาซึ่งมีรายละเอียดประกอบดังนี้

นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ที่มา

กรุงเทพมหานคร ได้ดําเนินการวางและ จัดทําผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครมา อย่างต่อเนื่อง ตามอํานาจแห่งพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ.-2518  โดยปัจจุบันผังฉบับ ที่ใช้บังคับคือ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.-2556 (ปรับปรุงครั้งที่ 3)

 

ซึ่งที่ผ่านมาใช้บังคับมากว่า 6 ปี ทาง กรุงเทพมหานครได้ประเมินผลผัง พบว่ามี สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมหลายประเด็น เปลี่ยนแปลงไป เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชนซึ่งดําเนินการก่อสร้างเร็วกว่าที่แผนการ กําหนด การเปลี่ยนแปลงประชากร การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่างๆ จึงจําเป็นต้องแก้ไข ปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้มี ความเหมาะสมต่อไป

สภาพการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพมหานคร

แผนผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานคร

แนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน

แนวคิดการใช้ประโยชน์ท่ีดินของ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)

  1. การส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบพื้นที่สถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางต่างๆ โดยเฉพาะจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางสําคัญ
  2. การอนุรักษ์ย่านประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์และกรุงธนบุรี
  3. การอนุรักษ์และพัฒนาย่านสถาบันการบริหารปกครอง
  4. การพัฒนาย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางรอง บริเวณศูนย์คมนาคม และย่านพาณิชยกรรมศูนย์ชุมชนชานเมือง
  5. การพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและหนาแน่นปานกลาง ในพื้นที่การให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
  6. การพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยบริเวณชานเมือง
  7. การพัฒนาศูนย์ชุมชนเกษตรกรรม และการสงวนรักษาพื้นที่ชนบท และเกษตรกรรมชานเมือง

การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินจากประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดยแสดงรายละเอียด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ประกอบกับการแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบอาคารที่เหมาะสมกับย่านอนุรักษ์

การขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง (Central Business District หรือ CBD)พาณิชยกรรมศูนย์กลางรอง (Sub CBD) บริเวณศูนย์คมนาคม (Intermodal) และพาณิชยกรรมศูนย์ชุมชนชานเมือง (Sub Center) โดยศักยภาพจากการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของกรุงเทพมหานคร

การขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และที่อยู่อาศัยหนาแน่น น้อยโดยศักยภาพจากการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรของกรุงเทพมหานคร

การปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมที่กําหนดให้เป็นทางน้ำท่วมหลาก (Flood Way) บางส่วนเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ
เพื่อลดภาระความสูญเสียของประชาชนจากปัญหาอุทกภัย

การส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบพื้นที่สถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง

กําหนดเงื่อนไขขนาดกิจการที่ต้องอยู่ ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 10, 12, 16 และ 30 เมตร หรืออยู่ในระยะ 500, 650 และ 800 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือระยะ 800 เมตร โดยรอบสถานีร่วม หรืออยู่ในระยะ 250 เมตร โดยรอบท่าเรือ สาธารณะริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

การลดจำนวนที่จอดรถยนต์ในอาคารโดยรอบสถานี

การลดหย่อนจํานวนที่จอดรถยนต์ตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร ลงร้อยละ 25 สําหรับ อาคารที่ต้องอยู่ในระยะ 500 เมตร โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หรือ 800 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนสถานีร่วม 11 สถานี ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีสยาม*
สถานีชิดลม สถานีเพลินจิต
สถานีราชดําริ สถานีสามย่าน
สถานีสีลม สถานีศาลาแดง*
สถานีลุมพินี สถานีช่องนนทรี
และสถานีสุรศักดิ์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*