Thailand 4.0 : โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ”ที่หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ยึดเป็นภารกิจตามยุทธศาสตร์ที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ 5 ข้อ ดังนี้

1.ระบบการขนส่งคมนาคมที่บูรณาการ

2.การให้บริการ

3.ปฏิรูปองค์กรกับเรื่องกฎหมาย

4.พัฒนาบุคลากรในภาคการขนส่ง

และ5.เทคโนโลยีและนวัตกรรม

โดย ผู้ว่าผู้ว่าการรฟม.  คนใหม่ “ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ประกาศวิชั่นภายใต้สโลแกน “4.0 รถไฟฟ้าเปลี่ยนเมือง” เร่งงานก่อสร้างระบบรางใน กทม.-ปริมณฑล ตามกำหนด พร้อมเตรียมแผนโครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคทั้งจังหวัดภูเก็ต ,เชียงใหม่และจังหวัดนครราชสีมาจะเกิดขึ้นในระยะต่อไป

 

“ภคพงศ์ ”เปิดเผยถึงแนวทางในการพัฒนาองค์กรว่า จากนี้ไปจะนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าของรฟม.ทั้งที่มีอยู่เดิมจะโครงการรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวดเร็ว และ ตรงเวลาให้ประชาชนสามารถวางแผนการเดินทางได้ โดยในส่วนของรฟม.เองก็จะใช้ระบบการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติทั้งหมด เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะเดียวกันยังพร้อมสนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้รองรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

พร้อมกันนี้ “ภคพงศ์ ”ยังกล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าทั้งที่เปิดให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้างรวมถึงโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการ เชื่อมั่นจะเปลี่ยนเมือง หซึ่งหมายถึงจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองและปริมณฑล ที่ต้องเผชิญกับปัญหาจรจรติดขัดจากรถเมล์ รถตู้ ก็จะทำให้การเดินทางรวดเร็วขึ้นเมื่อใช้บริการรถไฟฟ้า

 

“เมื่อเมืองขยายตัวไปในทางราบความเจริญก็จะไปสู่รอบนอก”  นอกจากนี้รฟม.ยังมีแผนขยายรถไฟฟ้าออกไปสู่ภูมิภาค ได้กำหนดนำร่อง 3 จังหวัดคือ ภูเก็ต เชียงใหม่ และ จังหวัดนครราชสีมา โดยที่จังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน (ช่วงท่าอากาศยานฯ-ห้าแยกฉลอง)รวมถึงรูปแบบจะเป็นการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน และรับผิดชอบงานก่อสร้าง งานโยธา และการติดตั้งระบบรถไฟฟ้า โครงการนี้จะเป็นระบบ Light Rail /Tramway ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร (กม.) 21 สถานี  ตามแผนจะเปิดให้บริการภายในปี 2566 ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างในปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2569 ขณะที่จังหวัดนครราชสีมาจะดำเนินการในระยะต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเช่นกัน

ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

ส่วนสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวิทวงศ์)) ระยะทาง 21.2 กม. (ใต้ดิน 12.2กม./ยกระดับ 9 กม.) 17 สถานี (ใต้ดิน 10 สถานี/ยกระดับ 7 สถานี) เปิดเดินรถในปี 2566  ขณะที่สายสีส้มส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์-ศุนย์วัฒนธรรม) เป็นใต้ดินตลอดสายระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี เปิดเดินรถในปี 2568

 

รถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) มีทั้งใต้ดินและยกระดับรวมระยะทาง 23.6 กม. (ใต้ดิน 10 สถานี  / ยกระดับ 7 สถานี)เปิดเดินรถในปี 2567

 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โครงสร้างเป็นยกระดับตลอดสาย ระยะทาง 30.4 กม. 23 สถานี เปิดเดินรถในปี 2564

 

รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) โครงสร้างยกระดับตลอดสาย ระยะทาง 34.5 กม. 30 สถานี เปิดเดินรถภายในปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2561 รฟม.ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (สถานีศรีรัช – เมืองทองธานี)ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรอง ประเภทระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ตามแนวถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทราไปจนถึงเขตมีนบุรี เพื่อรองรับพื้นที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยมีการเชื่อมต่อการเดินทางให้สามารถเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนสายหลัก 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ดังนั้น หากสามารถต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ ได้ จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการเดินทางของประชาชนจากบริเวณถนนแจ้งวัฒนะเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ ด้วย เช่น ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เอสซีจี สเตเดี้ยม ธันเดอร์โดม และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น

 

โดยส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ ออกแบบเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง รองรับด้วยโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี สายหลัก ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ประกอบด้วยสถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี ได้แก่ สถานี MT-01 ตั้งอยู่บริเวณอิมแพ็คชาเลนเจอร์ (Impact Challenger) และสถานี MT-02 ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี รวมระยะทางประมาณ 3 กม. มีขอบเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ห่างจากศูนย์กลางแนวเส้นทางข้างละ 500 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางตลาด ตำบลคลองเกลือ และตำบลบ้านใหม่ ในพื้นที่การปกครองของเทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

 

ตั๋วโดยสาร 4.0 “บัตรEMV” โกอินเตอร์ ขึ้นรถไฟฟ้าได้ทั่วโลก

ส่วนความคืบหน้าของระบบตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม)” นั้น “ภคพงศ์” กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการพัฒนานำเทคโนโลยีบัตร  EMV Contactless Smart Card(Open Loop)หรือที่เรียกว่า ระบบบัตรเครดิตดิจิทัล ที่เป็นสากลมีการใช้กันทั่วโลกเช่น ระบบรถไฟฟ้าของลอนดอน และสิงคโปร์ เป็นต้น มาใช้กับระบบตั๋วร่วมในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ใช้บริการขนส่งระบบสาธารณะได้รับความสะดวกสบายทั้งในระบบรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ,รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ  และ รถเมล์  ขสมก. รวมถึงเชื่อมต่อระบบเรือ  รวมถึงจะมีการผูกบัญชีเข้ากับบัตรค่าผ่านทางอัตโนมัติอีซี่พาส บัตรเอ็มพาส ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินในบัตรหมด คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการ 18 เดือนหรือประมาณปลายปี 2562 จึงจะแล้วเสร็จและใช้บริการได้

 

ทั้งนี้ ผู้ที่ถือบัตรดังกล่าว ยังสามารถนำไปใช้บริการรถไฟฟ้าในต่างประเทศได้ทั่วโลกที่รองรับระบบดังกล่าว ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยหรือติดต่อธุรกิจที่มีบัตรดังกล่าวก็สามารถที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยได้ด้วยเช่นกัน

 

สำหรับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าของรฟม.นั้น “ภคพงศ์” ยอมรับว่าติดขัดหรือมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมายหรือกฎระเบียบไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ทำให้ดำเนินการได้เฉพาะในพื้นที่บริเวณสถานีเท่านั้น โดยปัจจุบันได้ดำเนินการในบางสถานีแล้ว ด้วยการเปิดพื้นที่เช่าร้านค่าและบริการภายในและพื้นที่รอบสถานี อาทิ มีบริการ เสริมรูปแบบ One-Stop-Service เพื่อกระตุ้นการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าและตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร เช่น บริการทำหนังสือเดินทาง  มีกิจกรรมจำหน่ายสินค้า ตลาดนัดตามแนวสายทาง  เป็นต้น