รมว. คมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ”  แถลงข่าวในงาน Meet the Press หัวข้อ ทุกเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบรางกระทรวงคมนาคม เดินหน้า One Transport for Allเพื่อเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศไปสู่ One Transport for All

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวในงาน Meet the Press หัวข้อ “ทุกเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบราง” เพื่อเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศไปสู่ One Transport for All คมนาคมรวมเป็นหนึ่งเพื่อความสุขของคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมดำเนินการด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องของการเดินทางที่ไม่สะดวก และมีปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองหลวงและเมืองหลักในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยนโยบายรัฐบาลที่จะเร่งขับเคลื่อนพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครให้ครบทั้งระบบว่า ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถประหยัดพลังงาน ประชาชนเดินทางได้สะดวก และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น

 

โดยกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) เพื่อผลักดันทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 3 สายทาง ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (196กม.) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (96กม.) สายพัทยา-มาบตาพุด (32กม.) รวมทั้งเพิ่มโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้ครอบคลุม 13 จังหวัด เร่งรัดการจัดทารายงานการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) 2 สายพร้อมเปิดให้บริการทั้งระบบภายในปี 2563 ได้แก่ สายนครปฐม-ชะอำ และสายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย

 

ด้านการพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล กระทรวงฯ เปิดให้บริการแล้ว 5โครงการ ระยะทางรวม 109.8กม. ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.5 กม. รถไฟฟ้าสายสีน้ำาเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 21 กม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สำโรง) ระยะทาง 23.3 กม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬา-บางหว้า) ระยะทาง 14 กม. และรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กม.

 

การพัฒนาเส้นทางเชื่อมถนนสู่ประตูเศรษฐกิจ โดยขยายช่องจราจร 4 ช่อง บนถนนหลวงและถนนหลวงชนบท โดยดำเนินการขยายทางหลวงสายประธานทั่วประเทศ เป็น 4 ช่องจราจร เปลี่ยนถนนลูกรังเป็นถนนลาดยาง ระยะทางรวม 2,630 กม. ก่อสร้างถนนเพื่อสนับสนุนโครงการหลวงและโครงการพระราชดาริ 86 สาย และก่อสร้างสะพานชุมชนในภูมิภาค จำนวน 45 สะพาน

 

การพัฒนาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือโดยสารในแม่นาเจ้าพระยา เพื่อยกระดับท่าเรือโดยสารสาธารณะให้เป็น “สถานีเรือ” ด้วยการปรับปรุงท่าเรือโดยสารในแม่น้าเจ้าพระยา 17 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือสมุทรปราการ ท่าเรือบางหัวเสือ ท่าเรือบางกะเจ้านอก ท่าเรือสาทร ท่าเรือสี่พระยา ท่าเรือกรมเจ้าท่า ท่าเรือดินแดง ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือสะพานพุทธ ท่าเรือราชินี ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือพรานนก ท่าเรือเทเวศร์ ท่าเรือเกียกกาย ท่าเรือเขียวไข่กา และท่าเรือพระราม 5

 

การดำเนินการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ระยะทางทั้งหมด 2,506 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางเลือกและอำนวยความสะดวกในการเดินทางที่รวดเร็วขึ้นสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยเส้นทางที่ 1 คือ เส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย จากหนองคายเชื่อมไปประเทศลาวและต่อไปยังคุนหมิง ประเทศจีน เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เพื่อเชื่อมโยงระบบรถไฟระหว่างประเทศ และเส้นทางที่ 2 คือ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 672 กิโลเมตร เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ส่วนการดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) โดยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชม. สนามบินอู่ตะเภาสามารถเชื่อกรุงเทพฯ ได้ใน 45 นาที (เทียบกับ 2-3 ชั่วโมง โดยรถยนต์)

 

การพัฒนาศูนย์การขนส่งชายแดน/พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค โครงการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ผ่านเส้นทาง R3A และเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งเป็นระบบราง เพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้าผ่านถนนสาย R12 โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 17 แห่ง เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางถนนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

 

“กระทรวงคมนาคม เดินหน้า One Transport for All มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน”