Welcome October  ค่ะ เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีกันแล้วนะคะ สำหรับวงการอสังหาฯบ้านเราจะคึกคัก หรือมีแบรนด์ไหน? จัดโปรโมชั่นเด็ดๆอัดแคปเปญแน่นๆอีกหรือไม่นั้น ก็ต้องรอดูกันค่ะ แต่ที่ไม่ต้องรอและมีกระแสข่าวให้เห็นกันเรื่อยๆ “มาแน่ ตุลาคม 60 นี้” กับบัตรแมงมุม หรือตั๋วร่วม นั้นเอง มีเพื่อนๆนักลงทุนบางท่านต้องเคยได้ยินแล้วแน่ๆ สำหรับใครยังไม่รู้จัก บทความนี้ P2M พามาทำความรู้จัก “ระบบตั๋วร่วม” ให้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ

อาจจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับบ้านเรานะคะ ในการเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วมเป็นครั้งแรก แต่จริงๆแล้วต่างประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย ประเทศไหนๆเค้าก็ใช้ระบบนี้กันทั้งหมด ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่หลักการทำงานของระบบ”ตั๋วร่วม”เนี่ยเหมือนๆกันนะคะ เรายกตัวอย่างตั๋วร่วมของประเทศอื่นๆมาให้เพื่อนๆรู้จักกันในบทความนี้ด้วยค่ะ ..ตอนนี้มาเริ่มกันที่การทำความรู้จัก “บัตรแมงมุม” และ “ระบบตั๋วร่วม” กันก่อนเนอะ..

ระบบตั๋วร่วม คือ ระบบที่ให้เพื่อนๆใช้บริการขนส่งสาธารณะได้ทุกรูปแบบทั้งรถโดยสารสาธารณะ(รถเมล์) รถไฟฟ้า เรือ รวมถึงการชำระค่าผ่านทางพิเศษต่างๆ(ทางด่วน – มอเตอร์เวย์) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือจะนำไปใช้กับบริการนอกภาคขนส่ง พวกร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่จอดจอดรถ อย่างตอนนี้ก็มีข่าวแววๆมาว่า อยู่ในช่วงการเจรจากับกลุ่มซีพี เซ็นทรัลและเดอะมอลล์

อย่างที่กล่าวไปในช่วงต้นนะคะ จริงๆแล้วระบบตั๋วร่วมเนี่ย นานาประเทศเค้าก็ใช้กันมานานแล้ว แม้ว่าในบ้านเราจะดูเป็นของใหม่ ที่ทุกคนกำลังรอคอยการเปิดตัวและใช้อย่างเป็นทางการก็ตาม (สนข.เค้าว่า ตุลานี้มาแน่)

สำหรับบทความนี้ P2M เลยขอยกตัวอย่าง ซัก 5-6 ประเทศที่มีการใช้ระบบตั๋วร่วมให้เพื่อนที่ได้จิตนาการและนึกภาพตามว่าถ้าบ้านเราได้ใช้จริงๆ Feeling จะประมาณไหน ..มาเริ่มกันที่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ในแถบเอเชียกันก่อนดีกว่าเนอะ เชื่อว่าต้องมีเพื่อนๆหลายคนเคยไปแล้วต้องติดใจกับระบบระเบียบเมืองของที่นี่แน่ๆ ประเทศเล็กๆที่มีระบบคมนาคมที่สะดวกสบายอย่างสิงคโปร์ กับบัตร EZ Link

สิงคโปร์ EZ Link 

บัตร EZ Link สิงคโปร์ 2017 บัตรสารพัดประโยชน์  สามารถใช้ขึ้นรถไฟฟ้า MRT, รถเมล์, Taxi และใช้ซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ คล้ายๆจะเป็นบัตรเงินสดด้วย เราสามารถหาซื้อ บัตร EZ Link สิงคโปร์ ได้ที่ Passenger Service ในสถานีรถไฟ MRT ทุกสถานี ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 300 บาท เป็นบัตรครบวงจร เงินสดไม่ต้องพกก็อยู่สิงคโปร์ได้สะดวกสบาย แถมยังมีส่วนลดต่างๆจากร้านสะดวกซื้อเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรอีกด้วยนะคะ สุดท้ายหากเดินทางในสิงคโปร์แล้วเงินในบัตรเหลือก็สามารถเอาไว้ซื้อของได้ค่ะ

ญี่ปุ่น  Suica

มาต่อกันที่ประเทศผู้เชี่ยวชาญเรื่องขนส่งระบบราง เป็นที่ปรึกษาและต้นแบบให้ประเทศไทยนำการใช้ระบบขนส่งมวลชนมาใช้ อย่างประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ ค่อนข้างมั่นใจว่าทุกคนต้องรู้จักหรือไม่ก็ต้องเคยได้ยินแน่ๆ สำหรับบัตร “JR” ชื่อเต็มๆที่ของเค้าชื่อ “Japan Rail Pass” แต่เดี๋ยวก่อน บัตร JR ที่ทุกคนได้ยินเนี่ยแม้จะใช้กับขนส่งมวลชนได้หลายสาย แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมจนเรียกได้ว่าเป็นระบบตั๋วร่วมนะคะ ที่ดูจะใกล้เคียงมากกว่า คือบัตร Suica
บัตร Suica ใช้ได้กับรถไฟทุกสายทุกบริษัทในโตเกียว ไม่ใช่เฉพาะแต่รถ JR หากเพื่อนๆมีแผนมาโตเกียวอีกก็สามารถเก็บบัตรไว้ใช้ในคราวต่อไป เพราะบัตรจะหมดอายุภายใน 10 ปี บัตร Suica ไม่ใช่แค่ทำให้การซื้อตั๋วรถไฟง่ายขึ้นเท่านั้น เพื่อนๆยังสามารถใช้จ่ายอย่างอื่นได้ด้วย เช่นซื้อขนมหรือเครื่องดื่มบนรถไฟ ใช้ซื้อของในร้านค้า หรือเครื่องขายของต่างๆ ที่มีป้ายติดไว้ว่ารับบัตร Suica หรือแม้กระทั่ง TAXI บางคันก็รับบัตร Suica เช่นกัน

เกาหลี T-money 

ยังอยู่ในเอเชียค่ะ มาต่อกันที่ประเทศเกาหลีกับบัตร บัตรทีมันนี่ (T-Money) สามารถใช้จ่ายค่าบริการขนส่งสาธารณะได้ทั้งหมด รวมไปถึงแท็กซี่ ซึ่งหากใช้บัตรทีมันนี่แตะจ่ายแทนเงินสด ก็จะลดค่าบริการทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินลง นอกจากนี้บัตรทีมันนี่ยังใช้แทนเงินสดเพื่อจับจ่ายซื้อของในมินิมาร์ทได้อีกด้วยทั้ง 7-11, CU (Family Mart) และ GS25 หาซื้อบัตรทีมันนี่ได้ที่ไหน? สามารถซื้อได้ที่ร้านมินิมาร์ทต่างๆา หรือจะซื้อกที่สถานีรถไฟใต้ดินก็ได้ ที่สำคัญบัตรไม่มีหมดอายุใช้ได้ตลอด ตอนนี้ชื่อใหม่ของ ทีมันนี่เปลี่ยนจากบัตรทีมันนีแบบธรรมดานี้ มาเป็นบัตร Seoul City Pass Plus หลักที่เปลี่ยนก็คือผู้ใช้งานจะได้สิทธิประโยชน์ดีๆ เพิ่มขึ้นด้วยเพิ่มขึ้นนั้นเอง เป็นการ Update ให้ทันสมัยและก้าวทันโลกยุคใหม่อยู่ตลอดเวลาค่ะ

ฮ่องกง Octopus Card 

เมืองสุดท้ายในแทบเอเชียค่ะ พามาเที่ยวที่เกาะฮ่องกงกับบัตร Octopus Card (ปลาหมึกยักษ์) เปิดตัวใช้งานเมื่อปี 1997 (นับๆแล้วก็ 20 ปีแล้วค่ะที่ฮ่องกงเค้าเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วม) ที่ต้องเป็นปลาหมึกยักษ์ก็เพราะ เค้าอยากให้มองว่าเป็นการเดินทางที่ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืนอะไรแบบนี้ และยังพ้องเสียงกันระหว่าง หนวดปลาหมึก 8 หนวดกับทิศทั้ง 8 ซึ่งเป็นเลขมงคลของคนจีนเค้า เราเลยจะเห็นสัญลักษณ์ อินฟินิตี้ ในตัวบัตรเป็นโลโก้ด้วยค่ะ แน่นอนว่าบัตร Octopus Card ก็สามาถใช้เดินทางกับระบบขนส่งมวนชลที่เป็นส่วนกลางทั้งหมดในฮ่องกงร่วมทั้งร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่จอดรถ และบริการอื่นๆ สำหรับเจ้าตัวบัตร Octopus เนี่ยนะคะถูกใช้ในฮ่องกงมากกว่า 20 ล้านใบในการหมุนเวียนซึ่งนับเป็นเกือบ 3 เท่าของประชากรในฮ่องกง โดยถูกใช้คิดเป็น 95% ของประชากรในเกาะสร้างรายได้กว่า 12 ล้านรายการต่อวันนับเป็นมูลค่า 130 ล้านUSHongKong

แคนาดา  Compass Card

มากันแทบอเมริกากันบ้างกับประเทศแคนาดา เราจะเพื่อนๆไปที่เมืองแวนคูเวอร์ เพื่อทำความรู้กับบัตร Compass Card จากบริษัทขนส่งของแคนาดา Trans Link เป็นบัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งรถประจำทาง (Bus) รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน (Train, Skytrain) และเรือประจำทาง (SeaBus) และ West Coast Eperss
Compass Card เป็นบัตรโดยสารแบบเติมเงินที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ในการขนส่งใน Vancouver ใช้งานสะดวกและปลอดภัย ซึ่งในอนาคตบัตร Compass Card ก็จะพัฒนาให้สามารถใช้งานเป็นทั้งของขวัญ บัตรเครดิตและเปิดใช้งานได้ผ่านสมาร์ทโฟนอีกด้วย

 อังกฤษ Oyster Card

และมาจบกันที่แทบยุโรป เมืองลอนดอนของประเทศอังกฤษ กับบัตร Oyster Card รถไฟใต้ดิน ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองของลอนดอนเลยก็ว่าได้  Oyster Card เป็นบัตรที่จำเป็นสำหรับการเดินทางในลอนดอน มากนะคะเพราะใช้ขึ้นได้ทั้ง Underground/Overground/DLR ไปจนถึงรถเมล์ และสามารถขึ้นรถโดยสารสองชั้นได้อีกด้วย แล้วทำไม? ต้องเป็น Oyster (หอยนางรม) เพราะเป็นการเล่นความหมายที่แสดงให้เห็นความปลอดภัยและมีค่าจากเปลือกหอยและไข่มุก ซึ่งปากแม่น้ำเทมส์ที่เป็นแม่น้ำสายสำคัญของลอนดอนก็เป็นที่เพาะเลี้ยงหอยนางรมมาแต่รุ่นบรรพบุรุษก็เป็นโชว์ความเป็นลอนดอนเข้าไปด้วยนั้นเอง

แล้วบัตรแมงมุมละ? ใช้อะไรได้บ้าง?

พื้นฐานของระบบตั๋วร่วมคือต้องใช้เดินทางในระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้ทุกสาย และอาจเพิ่มเรื่องการจับจ่ายสินค้าตามร้านสะดวกซื้อได้ด้วย แต่บัตรแมงมุมเราทำได้มากกว่านั้น คือรองรับสวัสดิการแห่งรัฐ National E-Payment คือรัฐจะแจกบัตรเป็นสวัสดิการให้กับผู้รายน้อย 1.3 ล้านใบ และมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 3 ระบบด้วยกัน คือ รถเมล์ รถไฟ และรถไฟฟ้า (โดยมีวงเงินไม่เกิน 500บาท/เดือน/ระบบ)

พูดถึงบัตรแมงมุมมาตั้งนาน..แล้ว..

เกี่ยวข้องกับอสังหาฯยังไงนะ? 

ต้องบอกว่าอย่างที่ทราบกับดีค่ะ การโตของคอนโดบ้านเราเนี่ยโตขึ้นตามขนตามสายรถไฟฟ้า การรู้จักระบบของการเดินทางก็จะทำให้วิเคราะห์ตลาดคอนโดได้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นความจริงที่เหล่านักลงทุนทราบกันดีว่า คอนโดที่ติดเส้น BTS หรือสุขุมวิทจะได้ผลตอบแทนดีกว่าคอนโดทำเลที่ติดเส้นใต้ดินหรือ MRT มาจากการทำงานต่างระบบกัน เพราะ BST เป็น Radius Line คือเป็นเส้นทางรัศมีวิ่งจากนอกเมืองเข้าสู่กลางใจเมือง ในขณะที่ MRT วิ่งเป็น Circle Line คือเป็นวิ่งวงกลมรับคนจากแหล่งชมชุนรอบๆ แล้วส่งต่อให้ Radius Line อย่าง BTS ซึ่งต่อไปหากมีการทำงานที่เป็นระบบศูนย์กลางอย่างบัตรแมงมุมเข้ามาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอย่างรถไฟฟ้า ก็จะทำให้พื้นที่เมืองโดยรอบพัฒนาอย่างเป็นระบบและเสมอภาคกันมากขึ้น แต่ก็ต้องมองในเรื่องของความร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนด้วยนะคะ เพราะตอนนี้ BTS เองก็บริหารโดยเอกชน ส่วน MRT อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงคมนาคม หากประเทศเราทำให้ทำให้ระบบขนส่งมวลชนรวมกันได้ ข้อดีที่ตามก็จะมีอีกมากเหมือนประเทศอื่นๆที่ยกตัวอย่างไปแล้วในข้างต้นบทความทั้ง ญี่ปุ่น ฮ่องกงและลอนดอน ก็ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ..แน่นอนว่า P2M Teamก็จะเอามา Update กันเรื่อยๆฝากติดตามด้วยนะคะ 🙂