An image

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) จัดสัมมนา“การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใต้กรอบ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” โดยนายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวในหัวข้อ  “พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” ว่ถึงความคืบหน้าการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ นั้นขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ กำลังพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับราคาบ้าน จากเดิมที่มีข้อยกเว้นสำหรับบ้านหลังแรกไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี มาสู่การพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสม โดยมีการหยิบยกตัวอย่าง ราคาบ้านหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 20 ล้านบาทที่จะไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ตามข้อมูลพบว่า บ้านราคาเกิน 50 ล้านบาท ทั่วประเทศมีประมาณ 11,000 หลัง และบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาททั่วประเทศมีสัดส่วนประมาณ 96.5%

 

วัตถุประสงค์หลักของพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ คือ การนำที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่  ซึ่งเรื่องการปรับเปลี่ยนตัวเลขการจาก 50 ล้านบาท มาเป็นการยกเว้นบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 20 ล้านบาท นั้น ทางคณะกรรมาธิการฯกำลังดูกันอยู่ ตอนนี้ยังไม่นิ่ง เพราะอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ซึ่งพื้นฐานของปรับเปลี่ยนตัวเลขจัดเก็บ ต้องคำนึงถึงภาระทางภาษีที่จะเกิดกับประชาชน และเรื่องของตัวเลขการจัดเก็บเป็นอย่างไร แต่จะเกิดแรงต้านหรือไม่นั้น คงไม่มีอำนาจในการตอบ ต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯเป็นผู้ชี้แจง แต่กระนั้นกรอบของการบังคับใช้กฎหมายจะเกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2562

 

ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยยังไม่มีความเหมาะสม และยังไม่เป็นธรรมกับผู้ประชาชน  หากมาดูเรื่องการจัดภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเก็บจากผู้ที่มีที่ดินส่วนที่เกินกว่ากฎหมายยกเว้น ก็เก็บในอัตรา (คูณกับราคาปานกลางของราคาที่ดินนั้น ซึ่งมีการใช้มา 40 ปี มี 34 อัตรา เป็นลักษณะอัตราถดถอย)

 

ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดิน การใช้ประโยชน์ วิธีการจะต่างกับภาษีบำรุงท้องที่ ใช้ราคาค่าเช่าเป็นหลัก (เป็นการใช้ดุลยพินิจค่อนข้างมาก)  ซึ่งในแต่ละปีของการจัดเก็บฐานภาษีทั้งสองประเภท จะสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 28,000 ล้านบาท  แต่กระนั้น หากในกรณีไม่มีการออกฎหมายใหม่ แต่ไปใช้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย โดยใช้ราคาปานกลางจัดเก็บของกรมธนารักษ์ จะสามารถจัดเก็บได้ 38 เท่า แต่เป็นแนวทางที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ครอบครองที่ดิน

 

อนึ่ง อัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถแบ่งแยกเป็น เกษตรกรรม อัตราเพดาน 0.2% เป็นอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าทรัพย์สิน  บ้านพักอาศัย อัตราเพดาน 0.5% อัตราจัดเก็บเป็นอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าของทรัพย์สิน พาณิชยกรรม(อื่นๆ) อัตราเพดาน 2% แบ่งตามประเภท เป็นอัตราก้าวหน้าตามมูลค่าทรัพย์สิน และที่รกร้างว่างเปล่า อัตราเพดาน 5% อัตราภาษีเพิ่มเติม เพิ่มอัตราภาษี 0.5% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 5%

 

สำหรับแนวคิดการจัดเก็บภาษี “ลาภลอย”ตามแนวโครงข่ายคมนาคมและโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ นั้นอยู่ระหว่างการศึกษา และทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ กรอบหลักจะพิจารณาภาษีเมื่อมีการเปลี่ยนมือ ณ วันนั้น ทั้งนี้ จะมีการกำหนดค่าช่องว่างระหว่าง(Gap)ไว้ โดยหากส่วนต่างของราคาที่ดินมีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตรา 5% เฉพาะกรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ หรือมีการทุบตึกเก่าเพื่อสร้างตึกใหม่ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์

 

** prop2morrow โดย คุณวาสนา กลั่นประเสริฐ  เบอร์โทร.02-632-0645 E-mail : was_am999@yahoo.com

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*