อนันดาทุ่มงบ 300 ล้านบาท เนรมิตสำนักงานใหม่มุ่งสู่ Tech company  หวังสร้างแรงบันดาลใจพนักงาน เพิ่มศักยภาพการทำงานได้ถึง 4 เท่า มุ้งสู่เป้าหมายยอดโอน 5.7 หมื่นล้านภายในปี 63

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN เปิดเผยถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯว่า เพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีในอีก 5-10ปีข้างข้างหน้าที่เทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน บริษัทฯจึงได้วางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรไปสู่การเป็น Tech Company ด้วยการนำนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้ามาปรับประยุกต์ใช้กับองค์กร และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้กับสินค้าและบริการ

 

ล่าสุดได้เปิดตัว “Ananda UrbanTech”  เป็นการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอล โดยบริษัทฯได้ลงทุนประมาณ 300 ล้านบาทตกแต่งและลงทุนระบบที่สำนักงานใหม่ภายในอาคาร เอฟ วาย ไอ เซ็นเตอร์ ถนนพระราม 4 พื้นที่ใช้สอยรวม 8,300 ตร.ม. ภายใต้ชื่อ”Ananda Campus”ทุกพื้นที่ของการออกแบบต้องการเปลี่ยนองค์ให้เป็นองค์กรที่เน้นการประสานความร่วมมือกัน มีพื้นที่ใช้สอยร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการสื่อสารภายใน ซึ่งเชื่อว่าสำนักงานแห่งใหม่นี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานแก่พนักงาน

นอกจากนี้ อนันดาฯ ได้สร้างสรรค์พื้นที่การทำงานให้เป็น Smart Office ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่นี้ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อาทิ Samsung , Cisco , Fujisu  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีการขายนอกทวีปอเมริกาเหนือมาก่อนมาไว้ที่นี่ สำนักงานนี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเติบโตของบริษัทได้ถึง 300% ภายในวลา 3 ปี โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน นั่นหมายถึง เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทุกคน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็น 4 เท่า  (ปัจจุบันมีพนักงาน 700 คน)

 

กลยุทธ์ที่สำคัญของอนันดาฯคือการบริหารจัดการการเข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีและการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากนวัตกรรมที่มีอัตราการล้มเหลวสูงเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นสองประการ ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารจัดการนวัตกรรมจากภายนอก ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. การสนับสนุนระบบ Ecosystem หรือ ระบบนิเวศน์ของนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนผู้ริเริ่มนวัตกรรมอื่นๆ

2. การจัดตั้งเงินกองทุน  ( Fund of Fund ) ซึ่งเป็นการลงทุนในกองทุนต่างๆทั่วโลก ทั้งในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ

3. การบริหารกิจการร่วมทุน ( Corporate Venture Capital) คือ การร่วมลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพและมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาเสริมธุรกิจขององค์กรในอนาคตได้

สำหรับเป้าหมายของบริษัทมียอดโอน 57,131 ล้านบาทในปี 2563 จากในปี 2559 ที่มียอดโอน 15,100 ล้านบาท, ปี 2560 ตั้งเป้า โต 66% จำนวนอดโอน 25,072 ล้านบาท, ปี 2561 โต 69% ยอดโอน 42,309 ล้านบาท, ปี 2562 ยอดโอน 48,441  ล้านบาท โต 14%  และปี 2563 ยอดโอน 57,131 ล้านบาท เติบโต 18%

 

โดยก่อนหน้านี้อนันดาได้เปิดตัวโครงการนำร่อง บริการระบบ ฮอปคาร์ (Haupcar) ) หรือบริการ car-sharing ในโครงการ ไอดีโอ คิว จุฬา-สามย่าน และ ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสท์เกสต์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง เริ่มให้บริการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 พร้อมเสริมความแข็งแกร่งจับมือกับพันธมิตรแถวหน้า อาทิ Hubba , Seedstars , Sasin , Builk ฯลฯ ที่เชี่ยวชาญด้าน   Startup มาร่วมกันคัดสรรนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆที่อนันดาฯสามารถนำมาพัฒนาใช้ในธุรกิจหลักได้ในอนาคต

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*