กรมโยธาธิการและผังเมือง  กระทรวงมหาดไทย   ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่ 1 โครงการวางผังภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นผังแม่บทในการชี้นำการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล  รองรับการพัฒนาพื้นที่ให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  ลดปัญหาความขัดแย้งด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน  จัดระบบคมนาคมขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่   พร้อมตั้งเป้าก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  “มหานครแห่งเอเชีย” (The  Greater  Region  of Asia) ในปี 2580

นางอัธยา  เทพมงคล  รองอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง  ระบุว่า  กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เป็นมหานครที่มีความเติบโตทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม  เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกันเป็นมหานครขนาดใหญ่  ทำให้เกิดปัญหาการพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่รอยต่อที่ไม่เป็นระเบียบและขัดแย้งกัน  มีการพัฒนาเป็นแหล่งธุรกิจการค้า  อุตสาหกรรม  ที่อยู่อาศัยหนาแน่น  อีกทั้งยังมีการขยายตัวของเมืองรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม  กรมฯจึงได้ดำเนินโครงการวางผังภาคฯดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นกรอบชี้นำในการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่างๆ  โดยกำหนดให้กทม.และปริมณฑลมีบทบาทสำคัญ  5   ด้านดังนี้

 

1.ศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่ง 

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  จะเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่ง   เนื่องจากมีศักยภาพของที่ตั้งในปัจจุบันถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง  (GMS  Economic  Corridors)  ทั้งในระดับอาเซียนและทวีปเอเชีย  จึงเกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565  และแผนปฎิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558 (Action  Plan)  ซึ่งมีการพัฒนาทั้งทางถนน  ทางราง ทางน้ำ  และทางอากาศ

 

2.ศูนย์กลางด้านการค้าและบริการ

 

ด้วยศักยภาพของพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ  บริเวณย่านอโศก, สีลม, สาทร  และพระราม 3  ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการเงินและการธนาคาร  โดยสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของกรุงเทพฯเมื่อเทียบกับ GDP ของไทยทั้งประเทศ  ในปี 2557  มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50  และสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมรายสาขาในภาคการค้าและบริการของกรุงเทพฯสูงถึงร้อยละ 51  และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของเมืองมหานคร(กรุงเทพฯ) เป็นอันดับ 3 ของเมืองมหานครในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอาเซียนในปี 2557

 

3.ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง

 

จากนโยบายประเทศไทย  4.0 ของภาครัฐ  ที่ต้องการเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน  เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ใช้ต้นทุนต่ำลง  ลดแรงงานไร้ฝีมือ  แต่สนับสนุนแรงงานที่มีทักษะสูงเพิ่มมากขึ้น และ จากความต้องการกระจายภาคอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯออกไปยังจังหวัดต่างๆในปริมณฑล (เช่น  อุตสาหกรรมอาหาร, สิ่งทอ,ยานยนต์)    โดยให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีบทบาทในการบริหารปกครองและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น  พื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนด้านอุตสาหกรรม จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน  เพื่อเชื่อมโยงเขตส่งเสริมการลงทุนกับพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ  รวมทั้งเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไปสู่ภูมิภาคและในระดับประเทศด้วย

 

4.ศูนย์กลางด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ระดับโลก

 

เนื่องจากประเทศไทยมีการให้บริการสาธารณสุขดีที่สุดเป็นอันดับ10ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน  โดยมีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เดินทางมาใช้บริการสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก  จำนวน 1.4 ล้านคนในปี 2558   และจากการส่งเสริมและสนับสนุนในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  ที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical  Hub)

 

5.ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

 

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก ถึง 21.47 ล้านคนในปี 2559  และเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 18  ล้านคน  นอกจากนี้กรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่มีความหลากหลายของบทบาททั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว  จึงทำให้กรุงเทพมหาครกลายเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

 

ทั้งนี้   ข้อคิดเห็น  ความต้องการ และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากทุกภาคส่วนในครั้งนี้  จะนำไปเป็นข้อมูลสำคัญในการดำเนินโครงการวางผังภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อันประกอบด้วย  กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, นนทบุรี,สมุทรปราการ และสมุทรสาคร )  โดยหลังจากนี้

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*