ตลอดเวลา3ปี(พ.ศ.2557)ที่ “มิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป” หรือMECได้รุกเข้าสู่การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยด้วยการร่วมมือกับ บมจ.เอพี ไทยแลนด์ หรือ AP ที่วันนี้พร้อมที่จะปักหลักลงทุนยาวใน2 รูปแบบคือ 1.ลงทุนร่วมกับพันธมิตรเก่า เอพี ผ่าน “พรีเมี่ยม เรสซิเดนท์” บริษัทใหม่ที่ลงขันกันเมื่อเดือนเมษายน2559 ด้วยทุนจดทะเบียนสูงถึง 6,100 ล้านบาท และ รูปแบบที่ 2 คือหาพันธมิตรผู้ร่วมทุนใหม่พร้อมกับแสวงหาโอกาสลงทุนในเชิงพาณิชย์ ทั้ง อาคารสำนักงาน ,ธุรกิจรีเทล ประเภทเอาท์เล็ท มอลล์ (Outletmall )และ ลอจิสติกส์ ( Logistics)

 

*อ่านเพิ่มเติม ถอดความลับทุนญี่ปุ่นบุกอสังหาฯไทย ได้ที่ https://prop2morrow.com/home/news/893

มร.โชจิโร โคจิมา

 

มร.โชจิโร โคจิมา กรรมการผู้จัดการบริษัท มิตซูบิชิ เอสเตท เอเชีย ในนามของมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป กล่าวว่า การลงทุนในไทยเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ใหญ่สุดของญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งปัจจุบันมีการลงทุน 4-5 ประเทศคือที่ประเทศมาเลเซีย,อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ออสเตรเลีย และประเทศสิงคโปร์ สำหรับการลงทุนอสังหาฯเชิงพาณิชย์นั้นน่าจะเห็นในปี 2560-61 เป็นการพัฒนาใหม่มากว่าที่จะไปเทคโอเวอร์  การให้ความสนใจในการลงทุนดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในญี่ปุ่น รายได้ 60%ของMECมาจากอสังหาฯเชิงพาณิชย์

 

โดยอสังหาฯที่น่าจะมีโอกาสที่จะลงทุนเป็นอันดับแรกๆนั่นคือ อาคารสำนักงาน เนื่องจากMEC มีประสบการณ์และความชำนาญ ประกอบมองว่าอาคารสำนักงานในเมืองไทยยังมีความต้องการสูง เห็นได้จากอัตราการว่างของพื้นที่เช่าที่ต่ำมาก และถึงแม้ค่าเช่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำแต่ก็มีโอกาสที่จะปรับขึ้นได้อีก ที่สำคัญอีกประการคือ การลงทุนพัฒนาอาคารสำนักงานนั้นมีความแตกต่างจากการลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เป็นโลคอล โปรดักส์ ในขณะที่อาคารสำนักงานเป็น โกลบอลโปรดักส์

 

ส่วนธุรกิจรีเทล ทางMEC ก็มีความสนใจแต่ในทำเลใจกลางธุรกิจหรือซีบีดีมีการแข่งขันกันสูงมากและไม่ง่ายที่จะลงมาเล่นหรือมาลงทุน เนื่องจากมีแต่ผู้เล่นรายใหญ่ที่มีความแข็งแกร่ง แต่หากจะมีการลงทุนจะทำในรูปแบบการหาพันธมิตรมาร่วมทุน ซึ่งธุรกิจรีเทลที่สนใจลงทุนจะเป็นOutletmall สำหรับ Logistics นั้นอยู่ระหว่างการศึกษา เพราะ Logistics เป็นเทรนด์ทั่วโลกและมาจากการเติบของ E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

มร.โชจิโร กล่าวว่า ในช่วง3ปีที่MEC ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยนั้น ทำให้มั่นใจว่า ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งในการลงทุนสำคัญของภูมิภาคอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในเรื่องการเติบโตและโอกาสการลงทุน “สิ่งสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจในต่างประเทศ ก็คือ พันธมิตร และธุรกิจอสังหาฯก็เป็นเรื่องของโลคอล เรามองว่าการหาพันธมิตรสำคัญมากกว่าการมองหาโลเกชั่น” ซึ่งนั่นก็เป็นเหตผลสำคัญของการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับเอพีขึ้นมาพร้อมทีมงานญี่ปุ่นนั่งประจำทำงานร่วมกันถาวรซึ่งนอกจากจะสะท้อนความเชื่อมั่นที่มีต่อกันรวมถึงเป็นการขยายฐานการทำการตลาดด้วยเช่นกัน เห็นได้จาก นักลงทุนชาวญี่ปุ่นมาซื้อเหมายกชั้นไป2ชั้นจำนวน 30 ยูนิตในโครงการ Rhythm Ekamai

 

อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงหลักคิดในการดำเนินธุรกิจของMECบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่จากญี่ปุ่นที่พร้อมเปิดกว้างหาพันธมิตรเพื่อร่วมทุนเพื่อขยายไปยังการลงทุนอื่นๆเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวและเป็นธุรกิจที่ถนัดนั่นคือ การลงทุนอสังหาฯเชิงพาณิชย์  ที่ผู้บริหารของ MEC พูดชัดเจนว่า ต้องหาพันธมิตรายใหม่เข้ามาร่วมทุน ซึ่งก็มีการพูดคุยกับบริษัทอื่นๆอยู่ ส่วนการลงทุนพัฒนาอสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัยแนวสูงหรือคอนโดฯนั้นยังคงเป็นเอพี

 

“อนุพงษ์”ย้ำเอพียึดทำที่ถนัด (ยัง)ไม่มองอสังหาฯให้เช่า

 

 “เอพี เรายังไม่ได้มองเรื่องอสังหาฯให้เช่า ถ้าMECจะทำเราก็เปิดกว้างให้เขาทำและหาพันธมิตรใหม่” …อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอพีกล่าว ซึ่งนั่นก็สะท้อนถึงแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังของบริษัทฯที่ถึงแม้ว่าการลงทุนสำคัญที่จะนำพาเอพี ไต่ชั้นติด 1 ใน3 ผู้นำอสังหาฯของไทยที่ “อนุพงษ์” ประกาศบนเวทีฉลองเบญจเพศครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งเอพีเมื่อวันที่24มิถุนายน 2559 ในบางช่วงบางตอนว่า …ถ้าเราไม่ใช่ 1 ใน 3 บริษัทก็จะไม่มีที่ยืน เพราะตามทฤษฎีการตลาดคนจะจำได้แค่ 1-3 เท่านั้น

 

แม้ว่า เอพี จะปักหลักในสิ่งที่ถนัดคือการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทแนวราบและคอนโดมิเนียมทั้งที่ลงทุนเองและผ่านบริษัทร่วมทุน“พรีเมี่ยม เรสซิเดนท์ก็น่าจะช่วยหนุนการเติบโตทั้งรายได้และกำไรของบริษัทฯได้อย่างต่อเนื่องส่วนที่ว่าจะขึ้นแท่น1ใน3ผู้นำอสังหาฯได้ตามเป้าหมายเร็วแค่ไหน อย่างไร ? ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเอพี โดยในปี 2560 เอพีได้วางแผนเปิดโครงการใหม่ 20 โครงการมูลค่า35,000 ล้านบาท เป็นแนวราบ 17 โครงการมูลค่า 15,000 ล้านบาท และสินค้าในกลุ่มคอนโดฯ3โครงการรวมมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาทส่วนยอดขายตั้งเป้าไว้ที่ 26,000 ล้านบาท (ในปี2559 เอพีตั้งเป้ายอดขายไว้ที่31,000 ล้านบาท) และได้ตั้งเป้าเติบโตในเชิงของรายได้ 10-15% โดยสัดส่วนรายได้นั้นจะเท่ากันระหว่างรายได้จากแนวราบและแนวสูงคือ 50:50

 

*อ่านเพิ่มเติม ผลประกอบการ 9เดือนปี2559 ได้ที่ ttp://prop2morrow.com/home/news/822

 

ตลอดระยะเวลา 3 ปี เอพีและ MEC ร่วมกัน “สร้างความแตกต่าง” ด้วยการพัฒนาคอนโดมิเนียมมาแล้วทั้งสิ้น 8 โครงการ จำนวน 6,500 ยนิต มูลค่ารวม 27,000 ล้านบาท มียอดขายไป85% จำนวนยูนิตทั้งหมด และในไตรมาส 4 /2559ที่ผ่านมาโครงการภายใต้การร่วมทุนก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ 4 โครงการรวมมูลค่าประมาณ 10,900 ล้านบาท  ได้แก่  โครงการ1). RHYTHM สุขุมวิท 36 – 38  โครงการ 2). ASPIRE รัชดา – วงศ์สว่าง  โครงการที่3). ASPIRE สาทร – ท่าพระ และโครงการที่4). RHYTHM อโศก 2 โดยทั้ง 4 โครงการมีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถือว่าสร้างความน่าพึงพอใจได้เป็นอย่างมากทั้งสำหรับเอพี และ MEC

 

“จากนี้ไปการพัฒนาคอนโดฯของเอพีจะผ่านบริษัทร่วมทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ดินที่ได้มาจะส่งให้ทางMEC พิจารณาก่อนว่าจะพัฒนาโปรเจ็กต์ร่วมกันหรือไม่ หากมีความเห็นไม่ตรงกัน เอพี เราก็จะเอามาทำเอง”นายอนุพงษ์กล่าว พร้อมกับย้ำว่า เอพี จะหันมาเน้นแนวราบมากขึ้น

 

คุณวิทการ จันทวิมล

 

ส่วนในปี 2560 จะเปิดเพิ่มอีก 3 โครงการ มูลค่ารวม 20,000ล้านบาท ทำให้มีโครงการที่เปิดร่วมกันตั้งแต่ปี 2557ถึงปัจจุบัน(ณ มกราคม 60) มีโครงการที่เกิดจากการร่วมทุนทั้งสิ้น 11 โครงการ มูลค่ารวม 47,000 ล้านบาท

 

โดยนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานธุรกิจคอนโดมิเนียม ของเอพี กล่าวว่าใน3โครงการร่วมทุนนี้ได้ข้อสรุปแล้ว 2โครงการที่จะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี2560 คือ  1).โครงการ Life วัน ไวร์เลส มูลค่า 6,400 ล้านบาท บนถ.วิทยุ ตรงข้ามโรงแรมปาร์คนายเลิศเดิม เนื้อที่ประมาณ 6-7 ไร่ จำนวน 1,300 ยูนิต สูง 30 ชั้น ห้องชุดแบบสตูดิโอ และ 1-3 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ใช้สอย 23-60 ตารางเมตร ( ตร.ม.) ราคาเฉลี่ย 1 แสนกลางต่อตร.ม.

 

และโครงการที่ 2). Life  ลาดพร้าว มูลค่า 7,600 ล้านบาท บนถ.พหลโยธิน ตรงข้ามเซ็นทรัล ลาดพร้าว เนื้อที่ประมาณ 6-7 ไร่ ออกแบบ 2 อาคาร สูง 35 ชั้น จำนวน 1,600 ยูนิต ราคาเฉลี่ย 1 แสนต้นต่อตร.ม.

 

ส่วนโครงการที่ 3). ได้วางไว้เปิดตัวในครึ่งหลังของปี2560มูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างเจรจากับมิตซูบิชิ เอสเตทเพื่อเซ็นสัญญาเป็นโครงการร่วมทุนอีกแห่งหนึ่ง

โครงการ Life วัน ไวร์เลส บนถนนวิทยุ มูลค่า 6,400 ล้านบาท

 

กลยุทธ์ “AP Think Different”

 

แนวทางหลักในการทำธุรกิจของเอพี และยังจะได้นำมาใช้กับการยกระดับความร่วมมือระหว่าง เอพีและ MEC ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

 

1.นวัตกรรมสเปซและเทคโนโลยี: ผ่านการผสานวิสัยทัศน์เรื่อง  AP Digital Community ที่จะเข้ามาส่งเสริม ด้วยการผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยภายใต้แนวคิด IOT (Internet of Things) เข้ากับการออกแบบสเปซ คอนโดใหม่ๆ ของเอพีจากนี้ไปจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เรานำเรื่อง IOT เข้ามาคิดร่วมในการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางเยอะมาก  เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคตของคนเมือง

 

2. องค์ความรู้และผลิตภัณฑ์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ: การแลกเปลี่ยน “เทคนิค” ต่างๆ ระหว่างเอพีและ MEC หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนา AP Check List ที่ร่วมกับทีมดีไซน์เนอร์และทีมตรวจสอบคุณภาพงานจากทาง MEC รวมถึงการให้ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมร่วมกับสถาบันเอพี อะคาเดมี่ สถาบันเพื่อการเรียนรู้ครบวงจรด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในเมืองไทย และโปรแกรม “AP Open House” ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกงานได้มีโอกาสเรียนรู้และได้ลงสนามจริงกับพันธมิตรชาวญี่ปุ่นด้วย ณ ประเทศญี่ปุ่น

 

3. คุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน: การทำงานร่วมกันระหว่างเอพีและ MEC ใน “AP Design Lab”

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*